วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2559

การใช้งานคอมพิวเตอร์ 2(เนื่อหา)

การใช้งานคอมพิวเตอร์ 2(เนื่อหา)

การใช้คอมพิวเตอร์
          1.  การเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์
               1.  เสียบปลั๊กไฟทุกเส้นที่ต่อจากเครื่องคอมพิวเตอร์
               2.  กดปุ่ม  Power  เพื่อเปิดเครื่อง  จะมีไฟติดที่เครื่องและแป้นพิมพ์
               3.  เปิดสวิตช์จอภาพ  จะมีตัวอักษรขึ้นบนจอภาพ  และเริ่มเข้าสู่โปรแกรม
               4.  ใช้เมาส์คลิกที่ปุ่ม Start  จะปรากฏกลุ่มงานให้เลือกใช้
               5.  ใช้เมาส์คลิกที่โปรแกรม (Programs)  จะปรากฏแถบรายชื่อโปรแกรมต่าง ๆ ให้เลือก
               6.  คลิกชื่อโปรแกรมที่ต้องการใช้งาน  โปรแกรมงานก็จะถูกเปิดขึ้นทันที
          2.  การปิดเครื่องคอมพิวเตอร์
               1.  คลิกที่ปุ่มปิดโปรแกรม (Close) X
               2.  คลิกที่ปุ่ม Start
               3.  เลือก Shut down
               4.  เลือกตัวเลือกที่ต้องการ
               5.  เลือกปุ่ม OK  แล้วเครื่องจะถูกปิดลง
          3.  การใช้งานโปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด (Microsoft Word)
               โปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด (Microsoft Word)  เป็นโปรแกรมที่นิยมใช้ในการพิมพ์เอกสารต่าง ๆ เช่น  จดหมาย  รายงาน  ซึ่งมีคุณสมบัติในการสร้าง  ตกแต่งสีและจัดรูปแบบเอกสารให้สวยงาม  และสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว
               การเรียกใช้งานโปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด  มีขั้นตอนปฏิบัติดังนี้
               1.  คลิกปุ่ม Start  ไปที่ Programs
               2.  คลิกเมาส์เพื่อเลือก Microsoft Word  จะปรากฏหน้าต่างของ Microsoft Word
               การใช้งานโปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด  เพื่อพิมพ์เอกสาร  สามารถปฏิบัติดังนี้
               1.  เลือกแบบตัวอักษร  และขนาดตัวอักษรที่ต้องการ
               2.  พิมพ์ข้อความตามต้องการ
               3.  การแก้ไขข้อความ
                    ถ้าต้องการแก้ไขข้อความก็สามารถทำได้  ดังนี้
                    -  เลื่อนเมาส์มาในหน้าเอกสาร  เคอร์เซอร์ (Cursor)  จะเปลี่ยนเป็น I  (I-beam)
                    -  นำเคอร์เซอร์ไปคลิกตรงข้อความที่ต้องการแก้ไข  และทำการแก้ไข  ดังนี้
                    การแทรกข้อความ  มีขั้นตอนดังนี้
                    1)  ใช้เมาส์คลิกตำแหน่งที่ต้องการแทรก
                    2)  พิมพ์ข้อความที่ต้องการแทรกลงไป
                    การลบตัวอักษรและข้อความ  มีขั้นตอนดังนี้
                    1)  ลบตัวอักษรทีละตัว  ทำได้โดยคลิกให้เครื่องหมายเคอร์เซอร์อยู่หลังอักษร  แล้วกดปุ่ม Backspace
                    2)  ลบข้อความยาว ๆ ให้คลิกเมาส์ด้านซ้ายค้างไว้  แล้วลากไปที่ข้อความที่ต้องการลบให้เป็นแถบสีดำ  แล้วกดปุ่ม Enter หรือ Delete
          4.  การพิมพ์เอกสารในกระดาษ  มีขั้นตอนการปฏิบัติดังนี้
                    1)  คลิกที่เมนู File  เลือกคำสั่งพิมพ์  จะปรากฏหน้าต่างการพิมพ์ขึ้น
                    2)  กำหนดเครื่องพิมพ์ที่ใช้
                    3)  เลือกส่วนของระยะหน้า  เช่น
                         -  พิมพ์ทั้งหมด  เครื่องจะพิมพ์ทุกหน้าที่อยู่ในแฟ้ม
                         -  หน้าปัจจุบัน  เครื่องจะพิมพ์หน้าที่มีเครื่องหมายเคอร์เซอร์อยู่
                         -  หน้า  ให้ระบุหน้าที่จะพิมพ์  เช่น  1-5, 8-10
                    4)  เลือกจำนวนชุด  ตอบเป็นชุด  แล้วคลิกปุ่มตกลง
          5.  การจัดเก็บเอกสาร  มีขั้นตอนดังนี้
                    1)  เลือกเมนู File  แล้วคลิกที่ Save หรือ Save As  จะปรากฏหน้าต่าง Save As  ขึ้น
                    2)  เลือกที่สำหรับจัดเก็บ
                    3)  ตั้งชื่อไฟล์
                    4)  คลิก Save
          6.  การปิดเอกสารและออกจากโปรแกรม
                    1)  ถ้าปิดเอกสาร  ถ้าต้องการปิดเอกสารให้กดปุ่ม X ที่อยู่มุมขวาของเอกสารนั้น
                         ถ้าเอกสารนั้นยังไม่ได้ Save จะมีหน้าต่างขึ้นมาถามว่าต้องการ Save หรือไม่  ถ้าต้องการให้คลิกที่ใช่ (Yes)  ถ้าไม่ต้องการให้คลิกที่ไม่ใช้ (No)  แต่ถ้าต้องการยกเลิกการปิดเอกสารให้คลิกที่ยกเลิก (Cancel)
                    2)  การออกจากโปรแกรม  มีขั้นตอนดังนี้
                         (1)  คลิกที่เมนู File
                         (2)  เลือกที่ Exit  หรือคลิกที่ปุ่ม X ที่มุมขวาของโปรแกรม

แบบฝึกหัด คลิ๊กที่นี้
อ้างอิงจาก http://www.trueplookpanya.com/knowledge/detail/1311

วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2559

Webpage Development(เนื่อหา)

Webpage Development(เนื่อหา)

web development คืออะไร?
... การออกแบบและพัฒนาระบบโปรแกรมมิ่งของเว็บไซต์ให้สามารถควบคุมการทำงานของเว็บไซต์ทั้งเว็บ ไม่ว่าจะเป็นระบบการแสดงข้อมูล ระบบการประมวลผลข้อมูล ระบบการโต้ตอบผู้เยี่ยมชม ระบบแอดมิน เป็นต้น
... ระบบของเว็บไซต์แบ่งตามประโยชน์การใช้งานได้ 2 ประเภท คือ ระบบที่ออกแบบมาเพื่อประโยชน์การใช้งานของแอดมินหรือผู้ดูแลเว็บไซต์ และระบบที่ออกแบบมาเพื่อประโยชน์การใช้งานของผู้เยี่ยมชม
web development มีความสำคัญอย่างไร?
... ระบบต่างๆ บนเว็บไซต์จะเป็นตัวขับเคลื่อนและควบคุมเว็บให้ทำงานตามเงื่อนไขที่เราต้องการได้อย่างไม่มีข้อจำกัด ทำให้เว็บไซต์นั้นๆ มีศักยภาพมากกว่าการเป็นเพียงแค่การให้ข้อมูล information ธรรมดา
web development มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง?
... เพื่อให้ระบบที่จะทำการออกแบบพัฒนาขึ้นมานั้น มีประสิทธิภาพสูงสุดตามเงื่อนไขต่างๆ โดยใช้เวลาในการพัฒนาที่น้อยที่สุดอย่างคุ้มค่า จะต้องมีขั้นตอนต่างๆ ดังนี้
  • System Analysis คือการวิเคราะห์ระบบ และออกแบบ flowchat ของระบบโดยกำหนดเงื่อนไขต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และกำหนดการประมวลผล และการแสดงผลให้ถูกต้อง อีกทั้งยังต้องตรวจเช็คช่องโหว่หรือปิดทางจากเงื่อนไขต่างๆ ให้หมด
  • Coding เป็นการเขียนโคดโปรแกรมมิ่งเพื่อควบคุมฐานข้อมูล และกำหนดเงื่อนไขการทำงานของระบบ
  • Testing เป็นการทดสอบการทำงานจริงของระบบ เพื่อตรวจสอบจุดผิดพลาดหรือ bug โปรแกรม และทำการซ่อมหรือแก้ไข
แบบฝึกหัด คลิ๊กที่นี้

อ้างอิงจาก http://www.oknation.net/blog/ryokoku/2008/10/01/entry-1

IT 1 (เนื้อหา)

IT 1 (เนื้อหา)

ไอที (Information Technology) คือ อะไร?

ไอทีหมายถึงอะไรเป็นคำถามที่หลายๆคนต้องการส่งคำตอบว่าไอทีคืออะไรความหมายของ
ไอทีนั้นรวมมาจากคำว่าเทคโนโลยีกับสารสนเทศกลายเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งสามารถแปลได้ว่า
 IT เป็นชื่อมาจากภาษาอังกฤษซึ่งระบบไอทีนั้นสามารถช่วยเหลืองานให้มีประโยชน์ได้ในทุกๆด้านไม่ว่า
จะเป็นทั้งด้านงานเอกชน และภาครัฐและร้านค้าทั่วๆไปก็ได้มีการนำไอทีเข้ามาเพื่อใช้งานในชีวิต
ประจำวันซึ่งรายละเอียดของไอทีนั้นหมายถึงอะไรอย่างไรบ้างเราจะมาดูกัน

ไอที หมายถึงอะไร

เทคโนโลยีนั้นหมายถึงว่ามีการประยุกต์นำเอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ 
ทั้งเรื่องความเป็นจริงมาให้ประโยชน์ต่อมวลมนุษย์และสารสนเทศหมายถึงว่า 
ข้อมูลต่างๆที่นำมาดำเนินชีวิตของมนุษย์ซึ่งเป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
ไอทีหมายถึง การนำเทคโนโลยีและสารสนเทศมารวมกัน รวมเป็น
 เทคโนโลยีสารสนเทศ "Information Technology" ย่อมากจาก IT 
ซึ่งแปลความหมายของเทคโนโลยีคือการสร้างมูลค่าให้กับสารสนเทศให้สามารถใช้งานได้กว้างขวาง
และเทคโนโลยีด้านต่างๆในปัจจุบันก็มีการนำไอทีมาใช้ในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นการใช้เทคโนโลยีแบบรวบรวม
 จัดเก็บ ส่งต่อ ใช้งาน และสื่อสารซึ่งข้อมูลของไอทีที่มีการนำมาใช้นั้นได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ 
และอุปกรณ์ต่างๆที่มีซอฟแวร์เกี่ยวกับกับตัวข้อมูลต่างๆ ซึ่งอาจจะเป็นข้อมูลจำพวก
 โทรทัศน์ โทรศัพท์ โทรสาร วิทยุ และหนังสือพิมพ์ และอาจจะเป็นอย่างอื่นๆอีกที่มีทั่วไปภายในชีวิตประจำวัน
ในปัจจุบันนั้นได้กล่าวถึงว่าในยุคปัจจุบันนี้เป็นยุคแห่ง IT ซึ่งคนไทยทุกเพศ ทุกวัยไม่ว่าจะเป็นเด็ก
 ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุนั้นมีการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศหรือเรียกว่า IT และได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน
 ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือและคอมพิวเตอร์ต่างๆ ซึ่งถ้าหากว่าเราใช้ประโยชน์จากมันเราจะได้ความรู้ที่มีมากมาย
ภายในโลกของ IT แต่ทว่าใน IT นั้นก็มีทั้งด้านดีและด้านไม่ดีถ้าหากว่าเรารู้จักแยกแยะในเรื่องบางเรื่อง
เราจะสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้ออกมาอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดซึ่ง
ถ้าหากว่ามีผู้เล่นที่อยู่ในวัยเด็กนั้นต้องคอยมีผู้ปกครองคอยให้คำแนะนำต่างๆแก่เด็กเพราะว่าเทคโนโลยีเหล่านี้
อาจจะสร้างอันตรายแก่เด็กได้อันเนื่องมาจากข้อมูลที่เป็นข้อบิดเบือนหรือว่าข้อมูลที่มีอยู่ในแบบของผู้ใหญ่ซึ่ง
ควรอยู่ในการดูแลของผู้ปกครอง และสำหรับในวัยคนชรานั้นอาจจะมีปัญหาในการรับข้อมูลข่าวสารที่ผิดทำ
ให้เข้าใจผิดกันไปใหญ่โดยที่ไม่มีการกรองข่าวสาร

IT 2(เนื่อหา)

 คุณเคยสงสัยมั๊ยว่าคำว่า " ไอที(IT) " ที่พวกเราชาววัยรุ่นส่วนใหญ่มักเรียกติดปากกันแท้จริงแล้วมันคืออะไร มันมีความหมาย หรือมีประโยชน์อย่างไรต่อเรา แท้จริงแล้วไอที(IT)ย่อมาจากคำว่า Information Technologyซึ่งแปลเป็นไทยมันก็คือ "เทคโนโลยีสารสนเทศ" ซึ่งคนส่วนใหญ่มักไม่ค่อยคุ้นเคย กับคำนี้นี่เอง
     เทคโนโลยีสารสนเทศนั้นมักมีการนำมาใช้งานอย่างกว้างขวาง เกือบทั่วทุกวงการล้วนมองเห็นถึงความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศกันแทบทั้งสิ้นและถือเป็นหนึ่งในสามศาสตร์หลัก (เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีนาโน เทคโนโลยีชีวภาพ) ที่ถูกกล่าวว่าจะมีผลต่อสังคมในอนาคตมากที่สุด แม้ว่ารัฐบาลไทยของเราเองนั้นก็ยังเล็งเห็นความสำคัญด้านนี้มาก จึงมีการจัดตั้งกระทรวงใหม่ที่เกี่ยวกับงานทางด้านนี้ขึ้น ชื่อกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือเรียกย่อๆ ว่า กระทรวงไอซีที
     เทคโนโลยีสารสนเทศนั้นมีลักษณะเด่นคือมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมาก เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ทันสมัยเกิดขึ้นมาเรื่อยๆ ทุกวัน เช่น เราจะเห็นว่ามีการใช้อินเตอร์เน็ตกันอย่างแพร่หลาย มีการส่งอีเมล์ มีการท่องเว็บต่างๆ มีการส่งข้อมูลผ่านเว็บ มีการเล่นเกมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ต นอกจากอินเตอร์เน็ตแล้ว ยังมีเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวกับมือถือ เช่น มีการส่งข้อมูลผ่านทางมือถือ มีการดาวโหลดข้อมูลต่างๆ รวมทั้งเพลงผ่านมือถือ มีการสืบค้นข้อมูลหรือเล่นเกมผ่านมือถือ เป็นต้น ในทางอุตสาหกรรมก็มีการนำระบบสารสนเทศเข้าไปช่วยเพิ่มผลผลิตในโรงงาน ช่วยควบคุมดูแลเครื่องจักรเพื่อผลิตสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ และทำให้กระบวนการผลิตเป็นแบบอัตโนมัติ นอกจากนี้มีการนำสารสนเทศไปใช้ในงานด้านธุรกิจเพื่อทำให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพ โดยสามารถดูข้อมูลต่างๆ ได้ทันทีทั้งข้อมูลที่เป็นรายละเอียดและข้อมูลสรุป และช่วยในการสนับสนุนการตัดสิน บริษัทที่ทันสมัยทุกบริษัทต้องมีระบบสารสนเทศภายในองค์กร ในยุคต่อไป คอมพิวเตอร์จะมีขนาดเล็กลง มีความเร็วสูงขึ้น และมีหน่วยความจำมากขึ้น และที่สำคัญ ราคาของคอมพิวเตอร์จะถูกลงมาก ดังนั้นคอมพิวเตอร์จะเข้ามามีบทบาทในสังคมของเรามากขึ้น โดยเราจะเรียกสังคมนี้ว่าสังคมยูบิคิวตัส (Ubiquitous)คือ คอมพิวเตอร์อยู่ทุกหนทุกแห่ง ดังนั้นการจัดการข้อมูลสารสนเทศที่เกิดจากคอมพิวเตอร์เหล่านี้ จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก นอกจากนี้การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศภายในบริษัทก็เป็นสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่ง จะเห็นได้ว่าบริษัทหรือองค์กรใหญ่จำเป็นต้องมีหน่วยงานด้านการจัดการระบบสารสนเทศ ปัจจุบันในโลกของธุรกิจ มีธุรกิจที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศมากมาย ซึ่ง นักธุรกิจที่ร่ำรวยที่สุดก็คือนักธุรกิจด้านไอที ซึ่งความจริงนี้แสดงให้เห็นว่า ไอทีได้เป็นศาสตร์ที่รับความสนใจและมีความสำคัญมากในสังคมปัจจุบันและต่อไปในอนาคต.


แบบฝึกหัด คลิ๊กที่นี้ 

อ้างอิงจาก http://122.155.162.144/nsm2009/it/index.php?option=com_content&view=article&id=12%3A2009-06-08-08-19-42&catid=2%3Anews&Itemid=6&lang=en

Software (เนื้อหา)



Software (เนื้อหา)

Software หมายถึง อะไร
Software หมายถึง โปรแกรมหรือชุดคำสั่ง ทำหน้าที่สั่งการ ควบคุมการ
ประมวลผลอุปรกรณ์คอมพิวเตอร์ ในส่วนที่เรียกว่า ฮาร์ดแวร์ แม้ว่าจะมีความเร็วสูงในการทำงาน
 มีหน่วยความจำสูง และมีอุปรกรณ์ประกอบมากมาย แต่อาร์ดแวร์ทำงานไม่ได้ ถ้าไม่มีชุดคำสั่งควบคุมการ
ทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟท์แวร์หรือชุดคำสั่ง แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือโปรแกรมระบบ
และโปแกรมประยุกต์
1. โปรแกรมระบบ (system Soltware) ทำหน้าที่ทำงานที่ควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์
จำแนกออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.1 โปรแกรมระบบปฎิบัติการ (Operating System) ประกอบด้วยโปรแกรมการทำงานย่อยๆ
 ทำหน้าที่ต่างๆ กันระบบปฎิบัตการที่ใช้กันกว้างขวาง คือ Windows XP ,Windows Vista
Linux
1.2 โปรแกรมแปลภาษา (Language Translators) เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่ผู้ใช้เขียนขึ้นด้วยภาษาคอมพิวเตอร์
 เช่น ภาษาสิก
 โคบอล ฟอร์แทรน โปรแกรมประยุกต์ที่นำเข้ามาสู่หน่วยจำด้วยภาษาที่เขียนขึ้นเราเรียกว่า Source Program
ซึ่งเป็นภาษาเครื่องเราเรียกว่า Object Program หรือ Machine Language
โปรแกรมแปลภาษแต่ละตัวจะทำหน้าที่ต่างกันและจะแปลได้ภาษาใดภาษหนึ่งเท่านั้น เช่น โปรแกรมภาษา
โคบอลก็จะแปลเฉพาะภาษาโคบอลเท่านั้น โปแกรมภาษาฟอร์แทน ก็จะแปลได้แต่ภาษาฟอร์แทนเท่านั้น
เป็นโปรแกรมที่บริษัทผู้ผลิต เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือหน่วยงานคอมพิวเตอร์จัดทำขึ้นสำหรับการที่
จะช่วยการประมวลผล ที่ทำหน้าที่ประจำโปรแกรมดังกล่าวนี้ ประกอบด้วย
โปรแกรมต่าง ๆ ทำหน้าที่เฉพาะงาน เช่น
   1.1.1 Text - Editing Program เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่เพื่อเตรียมข้อมูลหรือโปแกรม เข้าสู่ระบบ
การเพิ่มแก้ไขหรือการย่าย หรือลบทิ้ง
   1.1.2 Diagnostic Program ทำหน้าที่ตรวจสอบข้อพกพร่องของโปแกรมและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
   1.1.3 Peripheral Interchange Program ช่วยจัดย้ายแฟ้มงานข้อมมูลจากสื่อชนิดหนึ่งไปยังสื่ออีกชนิดหนึ่ง
 เช่น ย้ายข้อมูลในเทปแม่เหล็กไปเก็บไว้ในจานแม่เหล็ก VCD,DVD และอื่นๆ
   1.1.4.Sort/Merge Program ช่วยงานจัดลำดับข้อมูลตามลำดับอักษรหรือลำดับเลขและช่วยงานรวมแฟ้มข้อมูงต่างๆ
 เข้ามาเก็บไว้ในแฟ้มข้อมูลเดียวกันโปแกรมประยุกต์ คือชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นด้วยภาษาคอมพิวเตอร์
เช่นภาษาเบสิก โคบอล ฟอร์แทรน
 เพื่อให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลตามคาสมต้องการโปแกรมเหล่านี้ผู้ใช้เขียนเอง
 สำหรับทำงานเฉพาะอย่าง ในขณะเดียวกัน
มีซอฟแวร์จัดทำขึ้นจำหน่วย  เรียกว่า  โปหแรมสำเส็จรูป (Package Program)
ผู้ใช้งานสามารถนำมาใช้งานได้เลย เช่นโปแรกม CDS/ISIS
 ซึ่งโปแกรมสำหรับจัดเก็บและสืบค้นสารสนเทศ  โปแกรมSAS,ABSTAT,SPSS,Microsoft Office
ปัจจุบันมีโปแกรมสำเส็จรูปจำนวนมาก ไมโครคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ ทำให้การใช้งานทำได้กว้างขวางขึ้น
 การเรียนรู้ง่ายและสะดวก
                  อย่างไรก็ตาม โปแกรมสำเร็จรูปก็ไม่สนองตอบความต้องการของผู้ใข้ได้ทุกอย่างบางครั้ง
จำเป็นต้องเขียนโปแกรมขึ้นมาใช้เอง ก็ต้องศึกษาวิธีการเขียนโปแกรม  และต้องแน่ใจว่าเครื่องคอมพิวเตอร์
มีตัวแปลภาษา ทำหน้าที่แปลคำสั่งให้เป็นภาษาเครื่องได้

 ภาษาเครื่องคอมพิวเตอร์แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม
  1.ภาษาเครื่อง ประกอบด้วยกลุ่มเลขฐานสอง ซึ่งเป็นภาษาเดียวที่เครื่องสามารถรับรู้และนำไปปฎิบัติได้ทันที
 ในระยะเริ่มแรกปผู้ใช้จะต้องเรียนรู้ภาษาเครื่อง จึงจะสามารถเขียนคำสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ และการใช้ภาษา
เครื่องจำเป็นต้องเรียนรู้และเข้าใจอย่างลึกซึง จึงนับว่าเป็นความยากลำบากอย่างมากและไม่สะดวกที่จะใช้งาน
 จึงมีผู้พัฒนาภาษาให้มีความสะดวกมากขึ้น
  2. ภาษาระดับต่ำ เป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษาเครื่อง แต่ทำให้กระซับกว่า โดยผู้ใช้ตัวอักษรแทนเลขฐาน
 สอง ทำให้ผู้ผู้เขียนชุดคำสั่งสะดวกมากขึ้น เมื่อคอมพิวเตอร์รับคำสั่งภาษาแอสแซบบลีก็จะแปลให้เป็นภาษาที่เรียกว่า
แอสแซมเบอล (Assemlier)
เพื่อแปลคำสั่งให้เป็นภาษาเครื่องแม้ว่าผู้ใช้งานจะเข้าใจหรือไม่ก็ตามกับภาษาเครื่อง
แต่ยังคงมีความไม่สะดวกเพราะพัฒนามาจากภาษาเครื่อง
 3. ภาษาระดับสูงเป็นภาษาที่ออกแบบให้ใกล้เคียงกับภาษามนุษย์จึงทำให้ผู้ใช้งานได้เข้าใจง่ายกว่าภาษา
คอมพิวเตอร์ 2 กลุ่ม ที่กล่าวมา โดยบไม่คำนึงถึงรายละเอียดในระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ไม่มากนักไม่
จำเป็นต้องมีพื้นฐาน
เกี่ยวกับภาษาเครื่อง ภาษาระดับสูงนี้สามารถนำไปใช้งานกับคอมพิวเตอร์ในระบบอื่นได้
 นับว่าเป็นภาษาที่สะดวกแก่การใช้งานมากขึ้น แต่ละภาษามีจุดเด่นต่างกัน ต้องมีการพิจารณาเป็นพิเศษ
 ตัวอย่างเช่น
 - FORTRAN เป็นภาษาที่มีความสามารถในการคำนาณสูงมาก เหมาะสำหรับงานวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม
 - COBOL เหมาพสำหรับการใช้งานทางด้สนธุรกิจการบัญชีการธนาคาร ความสามารถในการ
จัดการกับแฟ้มข้อมูลจำนวณมาก
 - BASIC เป็นภาษษคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นให้มีลักษณธที่ใช้งานง่าย ศึกษาได้ง่ายผู้ใช้สามารถตอบกับ
เครื่องในโปรแกรมและเหมาะแก่แารใช้งานทางธุรกิจ วิทยาศาสตร์ แต่ภาษาเบสิกยังจัดได้ว่าใหช้งานได้ไม่ดีนัก
 ส่วนใหญ่ใช้ในไมดครคอมพิวเตอร์
 - PACAL เป็นภาษาที่พัฒนามาจากโปรแกรมโครงสร้าง แต่จัดอยู่นะดับปลานกลางเพราะ
 การจัดการข้อมลูไม่ได้มาก
 นอกจากที่กล่าวมาแล้วยังมีภาษาระดับสูงอีกเช่น ALGOL,ADA,ALP,PROLOG,C เป็นต้น
 โครงสร้างข้อมูล (DATA Structure) ข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผลมีรายละเอียดดังนี้
 1.บิท(Bit) เป็นหน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุดในคอมพิวเตอร์ ย่อมาจาก Binary digit หมายถึงเลขฐานสองที่มีค่า
 0หรือ 1ดังนั้นในแต่ละบิทจึงแทนค่าได้เพียงสองสภาวะ หรือถ้าแทนตัวอักษรจะได้เพียง สองตัวอักษรเท่านั้น
เช่น 0=a,1=b
 2.ไบต์ (Byte)หมายถึง หน่วยข้อมูลกลุ่มหนึ่งที่ใช้แทนตัวอักษร (Character) หนึ่งตัวหรือหนึ่งไบต์
เช่น A=0110001,B=011000010
 ไบต์ เป็นหน่วยข้อมมูลที่มีขนาดใหญ่กว่าบิทและใช้บอกขนาดความจุในการเก็บข้อมมูลในคอมพิวเตอร์
โดยมีหน่วยเรียดว่า ดังนี้
     8 Bit      =    1 Byte
 1,024 Byte     =    1 Kilobyte
 1,024 Kilobyte =    1 Megabyte
 1,024 Megabyte =    1 Gigabyte
 - ตัวอักษร (Charater)หมายถึงสัญลักษณ์ ที่ใช้ในการประเมินผล เช่น 0-9,a-z'ก-ฮ และเครื่องหมายอื่นๆ
 ซึ่งจะมีความหมายเช่นเดียวกับไบต์
 - คำ(Word)หมายถึง กลุ่มของไบต์ หรือหน่วยหลักของเขตข้อมูลที่ใช้ในหน่วยความจำหลักของข้อมูล
เช่น24 Bits/word หรือ32 Bist/word
 - เขตข้อมมูล (Field)หมายถึง กลุ่มของไบต์หรือว่ากลุ่มตัวอักษร ที่มีขอบเขตเป็นพื้นที่เฉพาะอันใดอันหนึ่ง
 ในการบันทึกข้อมูลในแต่ละรายการ เช่น เขตข้อมูลในแต่ล่ะรายการ เช่น เขตข้อมูลของชื่อและนามสกุลหรือประวัติ
 - ระเบียบ (Recrod)หมายถึง ข้อมูลหนึ่งที่เป็นองค์ประกอบของแฟ้มข้อมมูลหรือกลุ่มของข้อมมูลชุดหนึ่ง
 หรือกลุ่มของเขตข้อมมูลที่ประกอบขึ้นเป็น Recrord
- แฟ้ม (File)หมายถึงชุดข้อมมูล ซึ่งประกอบไปด้วยไปด้วยกลุ่มของระเบียบที่มีวัตถุประสงค์
ในการปะเมินผลร่วมกัน เช่น แฟ้มข้อมมูลของนักศึกษาก็จะประกอบไปด้วยระเบียบของนักศึกษาทุกๆคน
- Vector หมายถึง Field ที่ตรงกันในแต่ล่ะ Recrord
- Array หมายถึง กลุ่มของ Vector ทั้งหมดใน Recrord
 1.3โปรแกรมอำนวจจความสะดวก (Utility Program)
แบบฝึกหัด คลิ๊กที่นี้
อ้างอิงจาก http://www.comsimple.com/