วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2559

การใช้งานคอมพิวเตอร์ 2(เนื่อหา)

การใช้งานคอมพิวเตอร์ 2(เนื่อหา)

การใช้คอมพิวเตอร์
          1.  การเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์
               1.  เสียบปลั๊กไฟทุกเส้นที่ต่อจากเครื่องคอมพิวเตอร์
               2.  กดปุ่ม  Power  เพื่อเปิดเครื่อง  จะมีไฟติดที่เครื่องและแป้นพิมพ์
               3.  เปิดสวิตช์จอภาพ  จะมีตัวอักษรขึ้นบนจอภาพ  และเริ่มเข้าสู่โปรแกรม
               4.  ใช้เมาส์คลิกที่ปุ่ม Start  จะปรากฏกลุ่มงานให้เลือกใช้
               5.  ใช้เมาส์คลิกที่โปรแกรม (Programs)  จะปรากฏแถบรายชื่อโปรแกรมต่าง ๆ ให้เลือก
               6.  คลิกชื่อโปรแกรมที่ต้องการใช้งาน  โปรแกรมงานก็จะถูกเปิดขึ้นทันที
          2.  การปิดเครื่องคอมพิวเตอร์
               1.  คลิกที่ปุ่มปิดโปรแกรม (Close) X
               2.  คลิกที่ปุ่ม Start
               3.  เลือก Shut down
               4.  เลือกตัวเลือกที่ต้องการ
               5.  เลือกปุ่ม OK  แล้วเครื่องจะถูกปิดลง
          3.  การใช้งานโปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด (Microsoft Word)
               โปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด (Microsoft Word)  เป็นโปรแกรมที่นิยมใช้ในการพิมพ์เอกสารต่าง ๆ เช่น  จดหมาย  รายงาน  ซึ่งมีคุณสมบัติในการสร้าง  ตกแต่งสีและจัดรูปแบบเอกสารให้สวยงาม  และสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว
               การเรียกใช้งานโปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด  มีขั้นตอนปฏิบัติดังนี้
               1.  คลิกปุ่ม Start  ไปที่ Programs
               2.  คลิกเมาส์เพื่อเลือก Microsoft Word  จะปรากฏหน้าต่างของ Microsoft Word
               การใช้งานโปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด  เพื่อพิมพ์เอกสาร  สามารถปฏิบัติดังนี้
               1.  เลือกแบบตัวอักษร  และขนาดตัวอักษรที่ต้องการ
               2.  พิมพ์ข้อความตามต้องการ
               3.  การแก้ไขข้อความ
                    ถ้าต้องการแก้ไขข้อความก็สามารถทำได้  ดังนี้
                    -  เลื่อนเมาส์มาในหน้าเอกสาร  เคอร์เซอร์ (Cursor)  จะเปลี่ยนเป็น I  (I-beam)
                    -  นำเคอร์เซอร์ไปคลิกตรงข้อความที่ต้องการแก้ไข  และทำการแก้ไข  ดังนี้
                    การแทรกข้อความ  มีขั้นตอนดังนี้
                    1)  ใช้เมาส์คลิกตำแหน่งที่ต้องการแทรก
                    2)  พิมพ์ข้อความที่ต้องการแทรกลงไป
                    การลบตัวอักษรและข้อความ  มีขั้นตอนดังนี้
                    1)  ลบตัวอักษรทีละตัว  ทำได้โดยคลิกให้เครื่องหมายเคอร์เซอร์อยู่หลังอักษร  แล้วกดปุ่ม Backspace
                    2)  ลบข้อความยาว ๆ ให้คลิกเมาส์ด้านซ้ายค้างไว้  แล้วลากไปที่ข้อความที่ต้องการลบให้เป็นแถบสีดำ  แล้วกดปุ่ม Enter หรือ Delete
          4.  การพิมพ์เอกสารในกระดาษ  มีขั้นตอนการปฏิบัติดังนี้
                    1)  คลิกที่เมนู File  เลือกคำสั่งพิมพ์  จะปรากฏหน้าต่างการพิมพ์ขึ้น
                    2)  กำหนดเครื่องพิมพ์ที่ใช้
                    3)  เลือกส่วนของระยะหน้า  เช่น
                         -  พิมพ์ทั้งหมด  เครื่องจะพิมพ์ทุกหน้าที่อยู่ในแฟ้ม
                         -  หน้าปัจจุบัน  เครื่องจะพิมพ์หน้าที่มีเครื่องหมายเคอร์เซอร์อยู่
                         -  หน้า  ให้ระบุหน้าที่จะพิมพ์  เช่น  1-5, 8-10
                    4)  เลือกจำนวนชุด  ตอบเป็นชุด  แล้วคลิกปุ่มตกลง
          5.  การจัดเก็บเอกสาร  มีขั้นตอนดังนี้
                    1)  เลือกเมนู File  แล้วคลิกที่ Save หรือ Save As  จะปรากฏหน้าต่าง Save As  ขึ้น
                    2)  เลือกที่สำหรับจัดเก็บ
                    3)  ตั้งชื่อไฟล์
                    4)  คลิก Save
          6.  การปิดเอกสารและออกจากโปรแกรม
                    1)  ถ้าปิดเอกสาร  ถ้าต้องการปิดเอกสารให้กดปุ่ม X ที่อยู่มุมขวาของเอกสารนั้น
                         ถ้าเอกสารนั้นยังไม่ได้ Save จะมีหน้าต่างขึ้นมาถามว่าต้องการ Save หรือไม่  ถ้าต้องการให้คลิกที่ใช่ (Yes)  ถ้าไม่ต้องการให้คลิกที่ไม่ใช้ (No)  แต่ถ้าต้องการยกเลิกการปิดเอกสารให้คลิกที่ยกเลิก (Cancel)
                    2)  การออกจากโปรแกรม  มีขั้นตอนดังนี้
                         (1)  คลิกที่เมนู File
                         (2)  เลือกที่ Exit  หรือคลิกที่ปุ่ม X ที่มุมขวาของโปรแกรม

แบบฝึกหัด คลิ๊กที่นี้
อ้างอิงจาก http://www.trueplookpanya.com/knowledge/detail/1311

วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2559

Webpage Development(เนื่อหา)

Webpage Development(เนื่อหา)

web development คืออะไร?
... การออกแบบและพัฒนาระบบโปรแกรมมิ่งของเว็บไซต์ให้สามารถควบคุมการทำงานของเว็บไซต์ทั้งเว็บ ไม่ว่าจะเป็นระบบการแสดงข้อมูล ระบบการประมวลผลข้อมูล ระบบการโต้ตอบผู้เยี่ยมชม ระบบแอดมิน เป็นต้น
... ระบบของเว็บไซต์แบ่งตามประโยชน์การใช้งานได้ 2 ประเภท คือ ระบบที่ออกแบบมาเพื่อประโยชน์การใช้งานของแอดมินหรือผู้ดูแลเว็บไซต์ และระบบที่ออกแบบมาเพื่อประโยชน์การใช้งานของผู้เยี่ยมชม
web development มีความสำคัญอย่างไร?
... ระบบต่างๆ บนเว็บไซต์จะเป็นตัวขับเคลื่อนและควบคุมเว็บให้ทำงานตามเงื่อนไขที่เราต้องการได้อย่างไม่มีข้อจำกัด ทำให้เว็บไซต์นั้นๆ มีศักยภาพมากกว่าการเป็นเพียงแค่การให้ข้อมูล information ธรรมดา
web development มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง?
... เพื่อให้ระบบที่จะทำการออกแบบพัฒนาขึ้นมานั้น มีประสิทธิภาพสูงสุดตามเงื่อนไขต่างๆ โดยใช้เวลาในการพัฒนาที่น้อยที่สุดอย่างคุ้มค่า จะต้องมีขั้นตอนต่างๆ ดังนี้
  • System Analysis คือการวิเคราะห์ระบบ และออกแบบ flowchat ของระบบโดยกำหนดเงื่อนไขต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และกำหนดการประมวลผล และการแสดงผลให้ถูกต้อง อีกทั้งยังต้องตรวจเช็คช่องโหว่หรือปิดทางจากเงื่อนไขต่างๆ ให้หมด
  • Coding เป็นการเขียนโคดโปรแกรมมิ่งเพื่อควบคุมฐานข้อมูล และกำหนดเงื่อนไขการทำงานของระบบ
  • Testing เป็นการทดสอบการทำงานจริงของระบบ เพื่อตรวจสอบจุดผิดพลาดหรือ bug โปรแกรม และทำการซ่อมหรือแก้ไข
แบบฝึกหัด คลิ๊กที่นี้

อ้างอิงจาก http://www.oknation.net/blog/ryokoku/2008/10/01/entry-1

IT 1 (เนื้อหา)

IT 1 (เนื้อหา)

ไอที (Information Technology) คือ อะไร?

ไอทีหมายถึงอะไรเป็นคำถามที่หลายๆคนต้องการส่งคำตอบว่าไอทีคืออะไรความหมายของ
ไอทีนั้นรวมมาจากคำว่าเทคโนโลยีกับสารสนเทศกลายเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งสามารถแปลได้ว่า
 IT เป็นชื่อมาจากภาษาอังกฤษซึ่งระบบไอทีนั้นสามารถช่วยเหลืองานให้มีประโยชน์ได้ในทุกๆด้านไม่ว่า
จะเป็นทั้งด้านงานเอกชน และภาครัฐและร้านค้าทั่วๆไปก็ได้มีการนำไอทีเข้ามาเพื่อใช้งานในชีวิต
ประจำวันซึ่งรายละเอียดของไอทีนั้นหมายถึงอะไรอย่างไรบ้างเราจะมาดูกัน

ไอที หมายถึงอะไร

เทคโนโลยีนั้นหมายถึงว่ามีการประยุกต์นำเอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ 
ทั้งเรื่องความเป็นจริงมาให้ประโยชน์ต่อมวลมนุษย์และสารสนเทศหมายถึงว่า 
ข้อมูลต่างๆที่นำมาดำเนินชีวิตของมนุษย์ซึ่งเป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
ไอทีหมายถึง การนำเทคโนโลยีและสารสนเทศมารวมกัน รวมเป็น
 เทคโนโลยีสารสนเทศ "Information Technology" ย่อมากจาก IT 
ซึ่งแปลความหมายของเทคโนโลยีคือการสร้างมูลค่าให้กับสารสนเทศให้สามารถใช้งานได้กว้างขวาง
และเทคโนโลยีด้านต่างๆในปัจจุบันก็มีการนำไอทีมาใช้ในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นการใช้เทคโนโลยีแบบรวบรวม
 จัดเก็บ ส่งต่อ ใช้งาน และสื่อสารซึ่งข้อมูลของไอทีที่มีการนำมาใช้นั้นได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ 
และอุปกรณ์ต่างๆที่มีซอฟแวร์เกี่ยวกับกับตัวข้อมูลต่างๆ ซึ่งอาจจะเป็นข้อมูลจำพวก
 โทรทัศน์ โทรศัพท์ โทรสาร วิทยุ และหนังสือพิมพ์ และอาจจะเป็นอย่างอื่นๆอีกที่มีทั่วไปภายในชีวิตประจำวัน
ในปัจจุบันนั้นได้กล่าวถึงว่าในยุคปัจจุบันนี้เป็นยุคแห่ง IT ซึ่งคนไทยทุกเพศ ทุกวัยไม่ว่าจะเป็นเด็ก
 ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุนั้นมีการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศหรือเรียกว่า IT และได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน
 ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือและคอมพิวเตอร์ต่างๆ ซึ่งถ้าหากว่าเราใช้ประโยชน์จากมันเราจะได้ความรู้ที่มีมากมาย
ภายในโลกของ IT แต่ทว่าใน IT นั้นก็มีทั้งด้านดีและด้านไม่ดีถ้าหากว่าเรารู้จักแยกแยะในเรื่องบางเรื่อง
เราจะสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้ออกมาอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดซึ่ง
ถ้าหากว่ามีผู้เล่นที่อยู่ในวัยเด็กนั้นต้องคอยมีผู้ปกครองคอยให้คำแนะนำต่างๆแก่เด็กเพราะว่าเทคโนโลยีเหล่านี้
อาจจะสร้างอันตรายแก่เด็กได้อันเนื่องมาจากข้อมูลที่เป็นข้อบิดเบือนหรือว่าข้อมูลที่มีอยู่ในแบบของผู้ใหญ่ซึ่ง
ควรอยู่ในการดูแลของผู้ปกครอง และสำหรับในวัยคนชรานั้นอาจจะมีปัญหาในการรับข้อมูลข่าวสารที่ผิดทำ
ให้เข้าใจผิดกันไปใหญ่โดยที่ไม่มีการกรองข่าวสาร

IT 2(เนื่อหา)

 คุณเคยสงสัยมั๊ยว่าคำว่า " ไอที(IT) " ที่พวกเราชาววัยรุ่นส่วนใหญ่มักเรียกติดปากกันแท้จริงแล้วมันคืออะไร มันมีความหมาย หรือมีประโยชน์อย่างไรต่อเรา แท้จริงแล้วไอที(IT)ย่อมาจากคำว่า Information Technologyซึ่งแปลเป็นไทยมันก็คือ "เทคโนโลยีสารสนเทศ" ซึ่งคนส่วนใหญ่มักไม่ค่อยคุ้นเคย กับคำนี้นี่เอง
     เทคโนโลยีสารสนเทศนั้นมักมีการนำมาใช้งานอย่างกว้างขวาง เกือบทั่วทุกวงการล้วนมองเห็นถึงความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศกันแทบทั้งสิ้นและถือเป็นหนึ่งในสามศาสตร์หลัก (เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีนาโน เทคโนโลยีชีวภาพ) ที่ถูกกล่าวว่าจะมีผลต่อสังคมในอนาคตมากที่สุด แม้ว่ารัฐบาลไทยของเราเองนั้นก็ยังเล็งเห็นความสำคัญด้านนี้มาก จึงมีการจัดตั้งกระทรวงใหม่ที่เกี่ยวกับงานทางด้านนี้ขึ้น ชื่อกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือเรียกย่อๆ ว่า กระทรวงไอซีที
     เทคโนโลยีสารสนเทศนั้นมีลักษณะเด่นคือมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมาก เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ทันสมัยเกิดขึ้นมาเรื่อยๆ ทุกวัน เช่น เราจะเห็นว่ามีการใช้อินเตอร์เน็ตกันอย่างแพร่หลาย มีการส่งอีเมล์ มีการท่องเว็บต่างๆ มีการส่งข้อมูลผ่านเว็บ มีการเล่นเกมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ต นอกจากอินเตอร์เน็ตแล้ว ยังมีเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวกับมือถือ เช่น มีการส่งข้อมูลผ่านทางมือถือ มีการดาวโหลดข้อมูลต่างๆ รวมทั้งเพลงผ่านมือถือ มีการสืบค้นข้อมูลหรือเล่นเกมผ่านมือถือ เป็นต้น ในทางอุตสาหกรรมก็มีการนำระบบสารสนเทศเข้าไปช่วยเพิ่มผลผลิตในโรงงาน ช่วยควบคุมดูแลเครื่องจักรเพื่อผลิตสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ และทำให้กระบวนการผลิตเป็นแบบอัตโนมัติ นอกจากนี้มีการนำสารสนเทศไปใช้ในงานด้านธุรกิจเพื่อทำให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพ โดยสามารถดูข้อมูลต่างๆ ได้ทันทีทั้งข้อมูลที่เป็นรายละเอียดและข้อมูลสรุป และช่วยในการสนับสนุนการตัดสิน บริษัทที่ทันสมัยทุกบริษัทต้องมีระบบสารสนเทศภายในองค์กร ในยุคต่อไป คอมพิวเตอร์จะมีขนาดเล็กลง มีความเร็วสูงขึ้น และมีหน่วยความจำมากขึ้น และที่สำคัญ ราคาของคอมพิวเตอร์จะถูกลงมาก ดังนั้นคอมพิวเตอร์จะเข้ามามีบทบาทในสังคมของเรามากขึ้น โดยเราจะเรียกสังคมนี้ว่าสังคมยูบิคิวตัส (Ubiquitous)คือ คอมพิวเตอร์อยู่ทุกหนทุกแห่ง ดังนั้นการจัดการข้อมูลสารสนเทศที่เกิดจากคอมพิวเตอร์เหล่านี้ จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก นอกจากนี้การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศภายในบริษัทก็เป็นสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่ง จะเห็นได้ว่าบริษัทหรือองค์กรใหญ่จำเป็นต้องมีหน่วยงานด้านการจัดการระบบสารสนเทศ ปัจจุบันในโลกของธุรกิจ มีธุรกิจที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศมากมาย ซึ่ง นักธุรกิจที่ร่ำรวยที่สุดก็คือนักธุรกิจด้านไอที ซึ่งความจริงนี้แสดงให้เห็นว่า ไอทีได้เป็นศาสตร์ที่รับความสนใจและมีความสำคัญมากในสังคมปัจจุบันและต่อไปในอนาคต.


แบบฝึกหัด คลิ๊กที่นี้ 

อ้างอิงจาก http://122.155.162.144/nsm2009/it/index.php?option=com_content&view=article&id=12%3A2009-06-08-08-19-42&catid=2%3Anews&Itemid=6&lang=en

Software (เนื้อหา)



Software (เนื้อหา)

Software หมายถึง อะไร
Software หมายถึง โปรแกรมหรือชุดคำสั่ง ทำหน้าที่สั่งการ ควบคุมการ
ประมวลผลอุปรกรณ์คอมพิวเตอร์ ในส่วนที่เรียกว่า ฮาร์ดแวร์ แม้ว่าจะมีความเร็วสูงในการทำงาน
 มีหน่วยความจำสูง และมีอุปรกรณ์ประกอบมากมาย แต่อาร์ดแวร์ทำงานไม่ได้ ถ้าไม่มีชุดคำสั่งควบคุมการ
ทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟท์แวร์หรือชุดคำสั่ง แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือโปรแกรมระบบ
และโปแกรมประยุกต์
1. โปรแกรมระบบ (system Soltware) ทำหน้าที่ทำงานที่ควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์
จำแนกออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.1 โปรแกรมระบบปฎิบัติการ (Operating System) ประกอบด้วยโปรแกรมการทำงานย่อยๆ
 ทำหน้าที่ต่างๆ กันระบบปฎิบัตการที่ใช้กันกว้างขวาง คือ Windows XP ,Windows Vista
Linux
1.2 โปรแกรมแปลภาษา (Language Translators) เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่ผู้ใช้เขียนขึ้นด้วยภาษาคอมพิวเตอร์
 เช่น ภาษาสิก
 โคบอล ฟอร์แทรน โปรแกรมประยุกต์ที่นำเข้ามาสู่หน่วยจำด้วยภาษาที่เขียนขึ้นเราเรียกว่า Source Program
ซึ่งเป็นภาษาเครื่องเราเรียกว่า Object Program หรือ Machine Language
โปรแกรมแปลภาษแต่ละตัวจะทำหน้าที่ต่างกันและจะแปลได้ภาษาใดภาษหนึ่งเท่านั้น เช่น โปรแกรมภาษา
โคบอลก็จะแปลเฉพาะภาษาโคบอลเท่านั้น โปแกรมภาษาฟอร์แทน ก็จะแปลได้แต่ภาษาฟอร์แทนเท่านั้น
เป็นโปรแกรมที่บริษัทผู้ผลิต เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือหน่วยงานคอมพิวเตอร์จัดทำขึ้นสำหรับการที่
จะช่วยการประมวลผล ที่ทำหน้าที่ประจำโปรแกรมดังกล่าวนี้ ประกอบด้วย
โปรแกรมต่าง ๆ ทำหน้าที่เฉพาะงาน เช่น
   1.1.1 Text - Editing Program เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่เพื่อเตรียมข้อมูลหรือโปแกรม เข้าสู่ระบบ
การเพิ่มแก้ไขหรือการย่าย หรือลบทิ้ง
   1.1.2 Diagnostic Program ทำหน้าที่ตรวจสอบข้อพกพร่องของโปแกรมและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
   1.1.3 Peripheral Interchange Program ช่วยจัดย้ายแฟ้มงานข้อมมูลจากสื่อชนิดหนึ่งไปยังสื่ออีกชนิดหนึ่ง
 เช่น ย้ายข้อมูลในเทปแม่เหล็กไปเก็บไว้ในจานแม่เหล็ก VCD,DVD และอื่นๆ
   1.1.4.Sort/Merge Program ช่วยงานจัดลำดับข้อมูลตามลำดับอักษรหรือลำดับเลขและช่วยงานรวมแฟ้มข้อมูงต่างๆ
 เข้ามาเก็บไว้ในแฟ้มข้อมูลเดียวกันโปแกรมประยุกต์ คือชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นด้วยภาษาคอมพิวเตอร์
เช่นภาษาเบสิก โคบอล ฟอร์แทรน
 เพื่อให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลตามคาสมต้องการโปแกรมเหล่านี้ผู้ใช้เขียนเอง
 สำหรับทำงานเฉพาะอย่าง ในขณะเดียวกัน
มีซอฟแวร์จัดทำขึ้นจำหน่วย  เรียกว่า  โปหแรมสำเส็จรูป (Package Program)
ผู้ใช้งานสามารถนำมาใช้งานได้เลย เช่นโปแรกม CDS/ISIS
 ซึ่งโปแกรมสำหรับจัดเก็บและสืบค้นสารสนเทศ  โปแกรมSAS,ABSTAT,SPSS,Microsoft Office
ปัจจุบันมีโปแกรมสำเส็จรูปจำนวนมาก ไมโครคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ ทำให้การใช้งานทำได้กว้างขวางขึ้น
 การเรียนรู้ง่ายและสะดวก
                  อย่างไรก็ตาม โปแกรมสำเร็จรูปก็ไม่สนองตอบความต้องการของผู้ใข้ได้ทุกอย่างบางครั้ง
จำเป็นต้องเขียนโปแกรมขึ้นมาใช้เอง ก็ต้องศึกษาวิธีการเขียนโปแกรม  และต้องแน่ใจว่าเครื่องคอมพิวเตอร์
มีตัวแปลภาษา ทำหน้าที่แปลคำสั่งให้เป็นภาษาเครื่องได้

 ภาษาเครื่องคอมพิวเตอร์แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม
  1.ภาษาเครื่อง ประกอบด้วยกลุ่มเลขฐานสอง ซึ่งเป็นภาษาเดียวที่เครื่องสามารถรับรู้และนำไปปฎิบัติได้ทันที
 ในระยะเริ่มแรกปผู้ใช้จะต้องเรียนรู้ภาษาเครื่อง จึงจะสามารถเขียนคำสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ และการใช้ภาษา
เครื่องจำเป็นต้องเรียนรู้และเข้าใจอย่างลึกซึง จึงนับว่าเป็นความยากลำบากอย่างมากและไม่สะดวกที่จะใช้งาน
 จึงมีผู้พัฒนาภาษาให้มีความสะดวกมากขึ้น
  2. ภาษาระดับต่ำ เป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษาเครื่อง แต่ทำให้กระซับกว่า โดยผู้ใช้ตัวอักษรแทนเลขฐาน
 สอง ทำให้ผู้ผู้เขียนชุดคำสั่งสะดวกมากขึ้น เมื่อคอมพิวเตอร์รับคำสั่งภาษาแอสแซบบลีก็จะแปลให้เป็นภาษาที่เรียกว่า
แอสแซมเบอล (Assemlier)
เพื่อแปลคำสั่งให้เป็นภาษาเครื่องแม้ว่าผู้ใช้งานจะเข้าใจหรือไม่ก็ตามกับภาษาเครื่อง
แต่ยังคงมีความไม่สะดวกเพราะพัฒนามาจากภาษาเครื่อง
 3. ภาษาระดับสูงเป็นภาษาที่ออกแบบให้ใกล้เคียงกับภาษามนุษย์จึงทำให้ผู้ใช้งานได้เข้าใจง่ายกว่าภาษา
คอมพิวเตอร์ 2 กลุ่ม ที่กล่าวมา โดยบไม่คำนึงถึงรายละเอียดในระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ไม่มากนักไม่
จำเป็นต้องมีพื้นฐาน
เกี่ยวกับภาษาเครื่อง ภาษาระดับสูงนี้สามารถนำไปใช้งานกับคอมพิวเตอร์ในระบบอื่นได้
 นับว่าเป็นภาษาที่สะดวกแก่การใช้งานมากขึ้น แต่ละภาษามีจุดเด่นต่างกัน ต้องมีการพิจารณาเป็นพิเศษ
 ตัวอย่างเช่น
 - FORTRAN เป็นภาษาที่มีความสามารถในการคำนาณสูงมาก เหมาะสำหรับงานวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม
 - COBOL เหมาพสำหรับการใช้งานทางด้สนธุรกิจการบัญชีการธนาคาร ความสามารถในการ
จัดการกับแฟ้มข้อมูลจำนวณมาก
 - BASIC เป็นภาษษคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นให้มีลักษณธที่ใช้งานง่าย ศึกษาได้ง่ายผู้ใช้สามารถตอบกับ
เครื่องในโปรแกรมและเหมาะแก่แารใช้งานทางธุรกิจ วิทยาศาสตร์ แต่ภาษาเบสิกยังจัดได้ว่าใหช้งานได้ไม่ดีนัก
 ส่วนใหญ่ใช้ในไมดครคอมพิวเตอร์
 - PACAL เป็นภาษาที่พัฒนามาจากโปรแกรมโครงสร้าง แต่จัดอยู่นะดับปลานกลางเพราะ
 การจัดการข้อมลูไม่ได้มาก
 นอกจากที่กล่าวมาแล้วยังมีภาษาระดับสูงอีกเช่น ALGOL,ADA,ALP,PROLOG,C เป็นต้น
 โครงสร้างข้อมูล (DATA Structure) ข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผลมีรายละเอียดดังนี้
 1.บิท(Bit) เป็นหน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุดในคอมพิวเตอร์ ย่อมาจาก Binary digit หมายถึงเลขฐานสองที่มีค่า
 0หรือ 1ดังนั้นในแต่ละบิทจึงแทนค่าได้เพียงสองสภาวะ หรือถ้าแทนตัวอักษรจะได้เพียง สองตัวอักษรเท่านั้น
เช่น 0=a,1=b
 2.ไบต์ (Byte)หมายถึง หน่วยข้อมูลกลุ่มหนึ่งที่ใช้แทนตัวอักษร (Character) หนึ่งตัวหรือหนึ่งไบต์
เช่น A=0110001,B=011000010
 ไบต์ เป็นหน่วยข้อมมูลที่มีขนาดใหญ่กว่าบิทและใช้บอกขนาดความจุในการเก็บข้อมมูลในคอมพิวเตอร์
โดยมีหน่วยเรียดว่า ดังนี้
     8 Bit      =    1 Byte
 1,024 Byte     =    1 Kilobyte
 1,024 Kilobyte =    1 Megabyte
 1,024 Megabyte =    1 Gigabyte
 - ตัวอักษร (Charater)หมายถึงสัญลักษณ์ ที่ใช้ในการประเมินผล เช่น 0-9,a-z'ก-ฮ และเครื่องหมายอื่นๆ
 ซึ่งจะมีความหมายเช่นเดียวกับไบต์
 - คำ(Word)หมายถึง กลุ่มของไบต์ หรือหน่วยหลักของเขตข้อมูลที่ใช้ในหน่วยความจำหลักของข้อมูล
เช่น24 Bits/word หรือ32 Bist/word
 - เขตข้อมมูล (Field)หมายถึง กลุ่มของไบต์หรือว่ากลุ่มตัวอักษร ที่มีขอบเขตเป็นพื้นที่เฉพาะอันใดอันหนึ่ง
 ในการบันทึกข้อมูลในแต่ละรายการ เช่น เขตข้อมูลในแต่ล่ะรายการ เช่น เขตข้อมูลของชื่อและนามสกุลหรือประวัติ
 - ระเบียบ (Recrod)หมายถึง ข้อมูลหนึ่งที่เป็นองค์ประกอบของแฟ้มข้อมมูลหรือกลุ่มของข้อมมูลชุดหนึ่ง
 หรือกลุ่มของเขตข้อมมูลที่ประกอบขึ้นเป็น Recrord
- แฟ้ม (File)หมายถึงชุดข้อมมูล ซึ่งประกอบไปด้วยไปด้วยกลุ่มของระเบียบที่มีวัตถุประสงค์
ในการปะเมินผลร่วมกัน เช่น แฟ้มข้อมมูลของนักศึกษาก็จะประกอบไปด้วยระเบียบของนักศึกษาทุกๆคน
- Vector หมายถึง Field ที่ตรงกันในแต่ล่ะ Recrord
- Array หมายถึง กลุ่มของ Vector ทั้งหมดใน Recrord
 1.3โปรแกรมอำนวจจความสะดวก (Utility Program)
แบบฝึกหัด คลิ๊กที่นี้
อ้างอิงจาก http://www.comsimple.com/

วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ระบบคอมพิวเตอร์ (เนื้อหา)

ระบบคอมพิวเตอร์

ระบบคอมพิวเตอร์

ระบบคอมพิวเตอร์

ระบบ (System) หมายถึง ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่มีการกำหนดอย่างชัดเจนว่าต้องทำอะไรบ้าง เพื่อให้ได้ผลออกมาตามที่ต้องการ ขั้นตอนการปฏิบัติงานจะต้องปรากฎให้ทราบโดยทั่วกันไม่ว่าจะอยู่ในรูปของเอกสารหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือโดยวิธีการอื่น ๆ องค์ประกอบของระบบ ประกอบด้วย ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต และข้อมูลป้อนกลับ ซึ่งมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน 
ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System) หมายถึง ขั้นตอนการปฏิบัติงานของคอมพิวเตอร์ที่มีการกำหนดอย่างชัดเจนว่าต้องทำอะไรบ้าง เพื่อให้ได้ผลออกมาตามที่ต้องการ ขั้นตอนการปฏิบัติงานจะประกอบด้วย ข้อมูลนำเข้า การประมวลผล ผลลัพธ์ และข้อมูลป้อนกลับ ซึ่งมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน
ตัวอย่างระบบคอมพิวเตอร์ : เพื่อดูข้อมูลแฟ้ม data.txt
รอบที่ข้อมูลนำเข้าการประมวลผลผลลัพธ์ข้อมูลป้อนกลับ
1เลือกใช้คำสั่งที่แสดงรายชื่อแฟ้มdirพบรายชื่อแฟ้มมากมายไม่พบแฟ้ม data.txt ต้องกำหนดห้องใหม่
2cd / แล้วใช้ dir /sพบรายชื่อที่ต้องการไม่พบข้อมูลในแฟ้ม data.txt
3เลือกใช้คำสั่งสำหรับดูข้อมูลในแฟ้มtype c:\burin\data.txtพบข้อมูล บรรลุตามวัตถุประสงค์
รอรับความต้องการใหม่

ตัวอย่างระบบท่องเที่ยว : เพื่อให้ได้ท่องเที่ยวในที่ ๆ ดีที่สุด
ปีที่ข้อมูลนำเข้าการประมวลผลผลลัพธ์ข้อมูลป้อนกลับ
1เลือกทีม สถานที่ วางแผนร่วมกันเดินทาง ท่องเที่ยวบันทึกการท่องเที่ยวพูดคุยกับทีม ประทับใจ หรือปัญหา
2ทบทวน เลือกทีม สถานที่ วางแผนร่วมกันเดินทาง ท่องเที่ยวบันทึกการท่องเที่ยว
นำบทเรียน เป็นข้อมูลปีต่อไป

ตัวอย่างระบบสุขภาพ : เพื่อสุขภาพกายใจที่สมบูรณ์ และเป็นสุข
รอบที่ข้อมูลนำเข้าการประมวลผลผลลัพธ์ข้อมูลป้อนกลับ
1ถ้าพบว่าสุขภาพไม่ปกติตรวจหาอาการด้วยตนเองเบื้องต้นพบอาการรักษาตามอาการ
2ถ้าพบว่าแก้ไขไม่สำเร็จปรึกษาผู้รู้ ถึงการแก้ไขได้รับคำแนะนำเบื้องต้นรักษาตามคำแนะนำเบื้องต้น
3ถ้าพบว่าแก้ไขไม่สำเร็จปรึกษาแพทย์ได้รับการวินิจฉัย และยาสุขภาพเหมือนเดิม หรือไม่ดีขึ้น หรือไม่หายขาด
4พบแพทย์เฉพาะทางรับการตรวจรักษาเป็นการเฉพาะได้รับการรักษา ตรงกับปัญหา
สุขภาพแข็งแรง ดีเหมือนเดิม

ขั้นตอนในแต่ละรอบจะสิ้นสุดด้วยการมีข้อมูลป้อนกลับสำหรับนำไปใช้ต่อ เมื่อขึ้นรอบใหม่ หรือปีใหม่ก็จะใช้ข้อมูลป้อนกลับนั้นมาใช้ประกอบการพิจารณาวางแผนกระบวนการ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ถ้าข้อมูลนำเข้าแบบเดิม กระบวนการแบบเดิม จะหวังให้ผลลัพธ์เปลี่ยนไปก็จะไม่สมเหตุสมผล ดังนั้นในทุกรอบการทำงาน จะต้องได้สิ่งที่เรียกว่าข้อมูลป้อนกลับ มาใช้ประกอบการปรับข้อมูลนำเข้า หรือการประมวลผล แล้วผลลัพธ์ก็จะเปลี่ยนแปลงไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้




ระบบต่าง ๆ ภายในคอมพิวเตอร์ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน มี 11 ระบบ



1. ระบบที่ไม่มีระบบปฏิบัติการ (Non operating system) 
ยุคแรก ๆ คอมพิวเตอร์มีแต่เครื่องเปล่า ๆ ผู้ใช้ต้องเขียนโปรแกรมสั่งงาน ตรวจสอบการทำงาน ป้อนข้อมูล และควบคุมเอง ทำให้ระยะแรกใช้กันอยู่ในวงจำกัด
2. ระบบงานแบ็ตซ์ (Batch system) 
ในอดีต คอมพิวเตอร์จะทำงานได้ครั้งละ 1 งาน การสั่งงานคอมพิวเตอร์ให้มีมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำได้โดยการรวมงานที่คล้ายกัน เป็นกลุ่ม แล้วส่งให้เครื่องประมวลผล โดยผู้ทำหน้าที่รวมงาน จะรับงานจากนักพัฒนาโปรแกรม มาจัดเรียงตามความสำคัญ และตามลักษณะของโปรแกรม จัดเป็นกลุ่มงาน แล้วส่งให้คอมพิวเตอร์ประมวลผล
3. ระบบบัฟเฟอร์ (Buffering system)
การทำงานเพื่อขยายขีดความสามารถของระบบ ทำให้หน่วยรับ-แสดงผลสามารถทำงานไปพร้อม ๆ กับการประมวลผลของซีพียู ในขณะที่ประมวลผลคำสั่งที่ถูกโหลดเข้าซีพียูนั้น จะมีการโหลดข้อมูลเข้าไปเก็บในหน่วยความจำก่อน เมื่อถึงเวลาประมวลผลจะสามารถทำงานได้ทันที และโหลดข้อมูลต่อไปเข้ามาแทนที่ หน่วยความจำที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลที่เตรียมพร้อมนี้เรียกว่า บัฟเฟอร์ (buffer)
[img]http://img.cmpnet.com/tw/encyclopedia/img/_STRMBUF.GIF[/img]
4. ระบบสพูลลิ่ง (Spooling) 
Simultaneous Peripheral Operating On-Line เป็น multiprogramming พื้นฐาน ทำให้ซีพียูทำงานเต็มประสิทธิภาพ เพราะทำให้สามารถทำงานได้ 2 งานพร้อมกัน งานแรกคือประมวลผลในส่วนของซีพียู งานที่สองคือการรับ-แสดงผลข้อมูล ซึ่งต่างกับ buffer ที่ซีพียู และหน่วยรับ-แสดงผลทำงานร่วมกัน และ spooling มี job pool ทำให้สามารถเลือกการประมวลผลตามลำดับก่อนหลังได้ โดยคำนึงถึง priority เป็นสำคัญ
5. ระบบมัลติโปรแกรมมิ่ง (Multiprogramming) 
การทำงานที่โหลดโปรแกรมไปไว้ในหน่วยความจำหลัก และพร้อมที่จะประมวลผลได้ทันที ระบบปฏิบัติการจะเลือกงานเข้าไปประมวลผลจนกว่าจะหยุดคอยงานบางอย่าง ในช่วงที่หยุดรอจะดึงงานเข้าไปประมวลผลต่อทันที ทำให้มีการใช้ซีพียูได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6. ระบบแบ่งเวลา (Time-sharing หรือ Multitasking) 
เป็นการขยายระบบ multiprogramming ทำให้สามารถสับเปลี่ยนงานของคนหลาย ๆ คนเข้าสู่ซีพียู ซึ่งการสับเปลี่ยนที่ทำด้วยความเร็วสูงจะทำให้ผู้ใช้รู้สึกเหมือนครอบครองซีพียูอยู่เพียงผู้เดียว
7. ระบบเรียลไทม์ (Real-time system) 
จุดประสงค์อีกอย่างหนึ่งของ ระบบปฏิบัติการ คือ ระบบเวลาจริง(Real-time system) หมายถึงการตอบสนองทันที เช่นระบบ Sensor ที่ส่งข้อมูลให้คอมพิวเตอร์ เครื่องมือทดลองทางวิทยาศาสตร์ ระบบภาพทางการแพทย์ ระบบควบคุมในโรงงานอุตสาหกรรม ระบบหัวฉีดในรถยนต์ ระบบควบคุมการยิง ระบบแขนกล และเครื่องใช้ในครัวเรือนทั้งหมด
Real-time แบ่งได้ 2 ระบบ
1. Hard real-time system เป็นระบบที่ถูกรับรองว่าจะได้รับการตอบสนองตรงเวลา และหยุดรอไม่ได้
2. Soft real-time system เป็นระบบ less restrictive type ที่สามารถรอให้งานอื่นทำให้เสร็จก่อนได้
8. ระบบคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer System) 
ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ราคาถูกลง มีการพัฒนาอุปกรณ์ต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ทั้งแป้นพิมพ์ เมาส์ จอภาพ หน่วยความจำ หน่วยประมวลผล เป็นต้น และการใช้คอมพิวเตอร์ไม่ได้มุ่งเน้นด้านธุรกิจเพียงอย่างเดียว แต่นำไปใช้เพื่อความบันเทิงในบ้านมากขึ้น และกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกองค์กร นอกจากคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ(Desktop) ยังมีคอมพิวเตอร์แบบสมุดโน๊ต(Notebook) และคอมพิวเตอร์มือถือ (PDA) ปัจจุบันมีโทรศัพท์มือถือที่ทำงานแบบคอมพิวเตอร์ และใช้ดูหนังฟังเพลง หรือประมวลผลต่าง ๆ ที่ซับซ้อนมากขึ้น ใกล้เคียงกับคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะยิ่งขึ้น
9. ระบบเวอร์ชวลแมชีน (Virtual machine) 
เครื่องเสมือน ทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์รู้สึกเหมือนใช้คอมพิวเตอร์เพียงคนเดียว แต่ในความเป็นจริงจะบริการให้ผู้ใช้หลายคน ในหลายโปรเซส โดยใช้เทคโนโลยี Virtual machine บริการงานต่าง ๆ ให้กับผู้ใช้ได้หลาย ๆ งานพร้อมกัน
10. ระบบมัลติโปรเซสเซอร์ (Multiprocessor system) 
Symmetric-multiprocessing
การประมวลผลแบบสมมาตร หมายถึงการประมวลผลหลายโปรเซสเซอร์ที่ไม่มีโปรเซสเซอร์ตัวใดรับโหลดมากกว่าตัวอื่น
Asymmetric-multiprocessing
การประมวลผลแบบไม่สมมาตร หมายถึงการมีโปรเซสเซอร์ตัวหนึ่งเป็นตัวควบคุม และแบ่งงานแต่ละแบบให้โปรเซสเซอร์แต่ละตัวตามความเหมาะสม
11. ระบบแบบกระจาย (Distributed system) 
ระบบเครือข่าย ที่กระจายหน้าที่ กระจายการเป็นศูนย์บริการ และเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน ด้วยจุดประสงค์ต่าง ๆ กัน ในมาตรฐาน TCP/IP ซึ่งเป็นที่ยอมรับทั้ง Windows, Linux, Unix และ Mac ทำให้ทั้งหมดสามารถสื่อสารกันรู้เรื่องเข้าใจ และก่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกัน
1.1 ประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์อ้างอิงจาก http://www.nectec.or.th/courseware/computer/comp-using/index.html 
1.1.1 ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super computer)

คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ มีกำลังมากที่สุด ราคาแพงที่สุด สามารถประมวลผลคำสั่งได้นับพันล้านคำสั่งในหนึ่งวินาที มักใช้เก็บข้อมูลขนาดใหญ่ และต้องการความเร็วสูง เช่น สถิติประชากร การขุดเจาะน้ำมัน พยากรณ์อากาศ หรือวิจัยอาวุธ เป็นต้น
ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะในการทำงานสูงกว่า คอมพิวเตอร์แบบอื่น ดังนั้นจึงมีผู้เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า คอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง (High Performance Computer) คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ สามารถคำนวนเลขที่มีจุดทศนิยม ด้วยความเร็วสูงมาก ขนาดหลายร้อยล้านจำนวนต่อวินาที งานที่ให้คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ทำแค่ 1 วินาที ถ้าหากเอามาให้คนอย่างเราคิด อาจจะต้องใช้เวลานานกว่าร้อยปี ด้วยเหตุนี้ จึงเหมาะที่จะใช้คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ เมื่อต้องมีการคำนวนมากๆ อย่างเช่น งานวิเคราะห์ภาพถ่าย จากดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา หรือดาวเทียมสำรวจทรัพยากร งานวิเคราะห์พยากรณ์อากาศ งานทำแบบจำลองโมเลกุล ของสารเคมี งานวิเคราะห์โครงสร้างอาคาร ที่ซับซ้อน คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ มีราคาค่อนข้างแพง ปัจจุบันประเทศไทย มีเครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Cray YMP ใช้ในงานวิจัย อยู่ที่ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์สมรรถภาพสูง (HPCC) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ผู้ใช้เป็นนักวิจัยด้านวิศวกรรม และวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ บริษัทผู้ผลิตที่เด่นๆ ได้แก่ บริษัทเครย์ รีเสิร์ซ (Cray Research), บริษัท เอ็นอีซี (NEC) เป็นต้น
[img]http://www.llnl.gov/str/October01/gifs/McCoy1.jpg[/img]

1.1.2 เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe computer)

คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ แต่เล็กกว่า super computer นิยมใช้งานกับธุรกิจขนาดใหญ่ เช่น ธนาคาร โรงแรม หรือ server ขององค์การขนาดใหญ่
คอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะสูงมาก แต่ยังต่ำกว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์ คือปกติสามารถทำงานได้รวดเร็ว หลายสิบล้านคำสั่งต่อวินาที สำหรับสาเหตุที่ได้ชื่อว่า เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ก็เพราะครั้งแรกที่สร้างคอมพิวเตอร์ลักษณะนี้ได้สร้างไว้บนฐานรองรับ ที่เรียกว่า คัสซี่ (Chassis) โดยมีชื่อเรียกฐานรองรับนี้ว่า เมนเฟรม นั่นเอง
เหมาะกับการใช้งาน ทั้งในด้านวิศวกรรม วิทยาศาสตร์ และธุรกิจ โดยเฉพาะงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลจำนวนมากๆ เช่น งานธนาคาร ซึ่งต้องตรวจสอบบัญชีลูกค้าหลายคน งานของสำนักงานทะเบียนราษฎร์ ที่เก็บรายชื่อประชาชนประมาณ 60 ล้านคน พร้อมรายละเอียดต่างๆ งานจัดการบันทึกการส่งเงิน ของผู้ประกับตนหลายล้านคน ของสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน คอมพิวเตอร์เมนเฟรม ที่มีชื่อเสียงมาก คือ เครื่องของบริษัท IBM
ในปัจจุบัน ความนิยมใช้เครื่องเมนเฟรม ในหน่วยงานต่างๆ ได้ลดน้อยลงมาก เพราะราคาเครื่องค่อนข้างแพง การใช้งานค่อนข้างยาก และมีผู้รู้ด้านนี้ค่อนข้างน้อย สถานศึกษาที่มีเครื่องระดับนี้ไว้ใช้สอน ก็มีเพียงไม่กี่แห่ง เหตุผลสำคัญอีกประการหนึ่งคือ คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กกว่า ได้รับการพัฒนาให้มีสมรรถนะมากขึ้น จนสามารถทำงานได้เท่ากับเครื่องเมนเฟรม แต่ราคาถูกกว่า อย่างไรก็ตามเครื่องเมนเฟรม ยังคงมีความจำเป็น ในงานที่ต้องใช้ข้อมูลมากๆ พร้อมๆ กันอยู่ต่อไปอีก ทั้งนี้เพราะ เครื่องเมนเฟรมสามารถพ่วงต่อ และควบคุมอุปกรณ์รอบข้าง (Peripheral) เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องขับเทปแม่เหล็ก เครื่องขับจานแม่เหล็ก ฯลฯ ได้เป็นจำนวนมากในเวลาเดียวกัน
[img]http://www.nexconsulting.com/images/mainframe.gif[/img]

1.1.3 มินิคอมพิวเตอร์ (Mini computer)

คอมพิวเตอร์ที่ใช้ในธุรกิจขนาดกลาง และเล็ก ต้องการความสามารถในการประมวลผลสูง และราคาไม่สูงเกินไป เช่น AS/400 เป็นต้น
เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะน้อยกว่าเครื่องเมนเฟรม คือทำงานได้ช้ากว่า และควบคุมอุปกรณ์รอบข้างได้น้อยกว่า อย่างไรก็ตามจุดเด่นสำคัญ ของเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ ก็คือ ราคาย่อมเยากว่าเมนเฟรม การใช้งานก็ไม่ต้องใช้ บุคลากรมากนัก นอกจากนั้น ยังมีผู้ที่รู้วิธีใช้มากกว่าด้วย เพราะเครื่องประเภทนี้ มีใช้ตามสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษาหลายแห่ง
มินิคอมพิวเตอร์ เหมาะกับงานหลากหลายประเภท คือใช้ได้ทั้งในงานวิศวกรรม วิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรม เครื่องที่มีใช้ตามหน่วยงานราชการระดับกรมส่วนใหญ่ มักจะเป็นเครื่องประเภทนี้
[img]http://www-1.ibm.com/ibm/history/exhibits/logo/images/920913.jpg[/img]

1.1.4 คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal computer)

คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ(Desktop computer) หาซื้อได้ง่าย ราคาไม่แพง ใช้งานได้หลายประเภท
เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก และใช้ทำงานคนเดียว จึงนิยมเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ใช้งานที่พบได้อย่างแพร่หลาย จัดว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ทั้งระบบใช้งานครั้งล่ะคนเดียว หรือใช้งานในลักษณะเครือข่าย แบ่งได้หลายลักษณะตามขนาด เช่นเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลแบบตั้งโต๊ะ (Personal Computer) หรือแบบพกพา (Portable Computer) หรือแบ่งตามผู้ผลิต ได้แก่ เครื่องกลุ่ม IBM, IBM Compatible และแมคอินทอช (Macintosh) เป็นต้น
[img]http://www.belta.com/2003/admin/editor/upload/istylex_c800.gif[/img]

1.1.5 โน๊ตบุค (Notebook computer)

คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ที่สามารถพกพาไปในที่ต่าง ๆ เช่นบนรถ บนเครื่องบิน มีขนาดเท่าสมุดโน๊ต และมีราคาสูงกว่า Personal computer เล็กน้อย
[img]http://www.belta.com/2003/admin/editor/upload/mody.gif[/img]

1.1.6 พีดีเอ (PDA: Personal Digital Assistant)

คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กเท่าฝ่ามือ ปัจจุบันเป็นโทรศัพท์ได้ด้วย ทำให้ไม่ต้องพกอุปกรณ์หลายชิ้น แต่ความสามารถด้านการประมวลผลยังไม่สามารถเทียบเท่า Personal computer
[img]p900.jpg[/img]

1.1.7 คอมพิวเตอร์เครือข่าย (Network computer)

คอมพิวเตอร์ที่นำมาประยุกต์ให้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่อง เข้าด้วยกัน และนำมาใช้ประมวลผลให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เช่น การ share ข้อมูลในระบบอินเทอร์เน็ต เป็นต้น

การจำแนกคอมพิวเตอร์ ตามลักษณะวิธีการทำงานภายในเครื่องคอมพิวเตอร์
แอนะล็อกคอมพิวเตอร์ (Analog computer) เป็นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ได้ใช้ค่าตัวเลขเป็นหลักของการคำนวณ แต่จะใช้ค่าระดับแรงดันไฟฟ้าแทน ไม้บรรทัดคำนวณ อาจถือเป็นตัวอย่างหนึ่งของแอนะล็อกคอมพิวเตอร์ ที่ใช้ค่าตัวเลขตามแนวความยาวไม้บรรทัดเป็นหลักของการคำนวณ โดยไม้บรรทัดคำนวณจะมีขีดตัวเลขกำกับอยู่ เมื่อไม้บรรทัดหลายอันมรประกบรวมกัน การคำนวณผล เช่น การคูณ จะเป็นการเลื่อนไม้บรรทัดหนึ่งไปตรงตามตัวเลขของตัวตั้งและตัวคูณของขีดตัวเลขชุดหนึ่ง แล้วไปอ่านผลคูณของขีดตัวเลขอีกชุดหนึ่งแอนะล็อกคอมพิวเตอร์แบบอิเล็กทรอนิกส์จะใช้หลักการทำนองเดียวกัน โดยแรงดันไฟฟ้าจะแทนขีดตัวเลขตามแนวยาวของไม้บรรทัด แอนะล็อกคอมพิวเตอร์จะมีลักษณะเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่แยกส่วนทำหน้าที่เป็นตัวกระทำและเป็นฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ จึงเหมาะสำหรับงานคำนวณทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมที่อยู่ในรูปของสมการคณิตศาสตร์ เช่น การจำลองการบิน การศึกษาการสั่งสะเทือนของตึกเนื่องจากแผ่นดินไหว ข้อมูลตัวแปรนำเข้าอาจเป็นอุณหภูมิความเร็วหรือความดันอากาศ ซึ่งจะต้องแปลงให้เป็นค่าแรงดันไฟฟ้า เพื่อนำเข้าแอนะล็อกคอมพิวเตอร์ผลลัพธ์ที่ได้ออกมาเป็นแรงดันไฟฟ้าแปรกับเวลาซึ่งต้องแปลงกลับไปเป็นค่าของตัวแปรที่กำลังศึกษา ในปัจจุบันไม่ค่อยพบเห็นแอนะล็อกคอมพิวเตอร์เท่าไรนักเพราะผลการคำนวณมีความละเอียดน้อย ทำให้มีขีดจำกัดใช้ได้กับงานเฉพาะบางอย่างเท่านั้น
ดิจิทัลคอมพิวเตอร์ (Digital computer) คอมพิวเตอร์ที่พบเห็นทั่วไปในปัจจุบัน จัดเป็นดิจิทัลคอมพิวเตอร์แทบทั้งหมด ดิจิทัลคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้งานเกี่ยวกับตัวเลข มีหลักการคำนวณที่ไม่ใช่แบบไม้บรรทัดคำนวณ แต่เป็นแบบลูกคิด โดยแต่และหลักของลูกคิดคือ หลักหน่วย หลักร้อย และสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ เป็นระบบเลขฐานสินที่แทนตัวเลขจากศูนย์ถ้าเก้าไปสิบตัวตามระบบตัวเลขที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ค่าตัวเลขของการคำนวณในดิจิทัลคอมพิวเตอร์จะแสดงเป็นหลักเช่นเดียวกัน แต่จะเป็นระบบเลขฐานสองที่มีสัญลักษณ์ตัวเลขเพียงสองตัว คือเลขศูนย์กับเลขหนึ่งเท่านั้น โดยสัญลักษณ์ตัวเลขทั้งสองตัวนี้ จะแทนลักษณะการทำงานภายในซึ่งเป็นสัญญาณไฟฟ้าที่ต่างกัน การคำนวณภายในดิจิทัลคอมพิวเตอร์จะเป็นการประมวลผลด้วยระบบเลขฐานสองทั้งหมด ดังนั้นเลขฐานสิบที่เราใช้และคุ้นเคยจะถูกแปลงไปเป็นระบบเลขฐานสองเพื่อการคำนวณภายในคอมพิวเตอร์ ผลลัพธ์ที่ได้ก็ยังเป็นเลขฐานสองอยู่ ซึ่งคอมพิวเตอร์จะแปลงเป็นเลขฐานสิบเพื่อแสดงผลให้ผู้ใช้เข้าใจได้ง่าย
1.2 องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์1.2.1 ฮาร์ดแวร์ (Hardware)

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ที่จับต้องได้ แบ่งเป็น 4 หน่วย คือ Input unit, CPU(Central Processing Unit), Storage และ Output unit
[img]http://www.school.net.th/library/snet1/hardware/computer.gif[/img]

1.2.2 ซอฟต์แวร์ (Software)

คือ โปรแกรม หรือชุดคำสั่งที่เขียนขึ้น เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน เป็นตัวเชื่อมระหว่าง Hardware กับผู้ใช้ ให้สามารถสื่อสารกันได้

1.2.3 บุคลากร (Peopleware)

บุคคลผู้สั่งให้คอมพิวเตอร์ โดยใช้ซอฟต์แวร์ ซึ่งเป็นภาษาที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ ซึ่งบุคคลจะมีหลายบทบาทในการเข้าใช้คอมพิวเตอร์
- นักวิเคราะห์ และออกแบบระบบ (System analyst and design)
- โปรแกรมเมอร์ (Programmer)
- ผู้บริหารฐานข้อมูล (Database administrator)
- ผู้ปฏิบัติการ (Operator)
- ผู้ใช้ (User)
- ผู้บริหาร (Administrator)

1.2.4 ข้อมูล (Data)

องค์ประกอบสำคัญที่ทำให้คอมพิวเตอร์มีค่า เพราะข้อมูลที่เก็บในคอมพิวเตอร์ จะนำไปใช้ในการประกอบการตัดสินใจ หรือช่วยการแสดงผล หรือนำเสนอในรูปแบบต่าง ๆ ข้อมูลบางอย่างอาจมีค่ามากกว่า hardware เสียอีก

1.2.5 กระบวนการทำงาน (Procedure)

การทำงานให้ได้ผลตามต้องการต้องมีลำดับการทำงาน หรือขั้นตอนที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติ จึงต้องมีคู่มือผู้ใช้ หรือคู่มือระบบ ให้ผู้ใช้จัดการกับคอมพิวเตอร์ และใช้งานคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด
1.3 ปฏิบัติการสำรวจข้อมูล และถอดประกอบเครื่อง- จัดคอมพิวเตอร์ให้ฝึกถอดประกอบคอมพิวเตอร์จากห้องปฏิบัติการ
- มอบหมายให้เดินสำรวจการใช้คอมพิวเตอร์ในสถาบัน
- ให้ค้นข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในองค์การต่าง ๆ และยกตัวอย่างการใช้ประโยชน์
- ค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับ ระบบคอมพิวเตอร์ จากอินเทอร์เน็ต แล้วทำรายงาน และส่งตัวแทนนำเสนอหน้าชั้น

ทำแบบฝึกข้อสอบ คลิกที่นี้นะครับ^^


อ้างอิงเนื้อหาจาก :http://www.thaiall.com/os/os01.htm

วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

Network Computer (เนื้อหา)

Network Computer (เนื้อหา)

 Network Computer


 Computer Network คือระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งหมายถึงการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิล หรือสื่ออื่นๆ ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถรับส่งข้อมูลแก่กันและกันได้ ในกรณีที่เป็นการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เป็นศูนย์กลาง เราเรียกคอมพิวเตอร์ที่เป็นศูนย์กลางนี้ว่า โฮสต์ (Host) และเรียกคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่เข้ามาเชื่อมต่อว่า ไคลเอนต์ (Client/Terminal) 

ระบบเครือข่าย (Network) จะเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเพื่อการติดต่อสื่อสาร   เราสามารถส่งข้อมูลภายในอาคาร หรือข้ามระหว่างเมืองไปจนถึงอีกซีกหนึ่งของโลก   ซึ่งข้อมูลต่างๆ อาจเป็นทั้งข้อความ รูปภาพ เสียง ก่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็วแก่ผู้ใช้   ซึ่งความสามารถเหล่านี้ทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีความสำคัญ และจำเป็นต่อการใช้งานในแวดวงต่างๆ 
        รูปแบบของเน็ตเวิร์คแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะ ดังนี้

1. LAN (Local Area Network) เป็นกลุ่มของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันในพื้นที่จำกัด เช่นภายในตึกสำนักงาน หรือภายในโรงงาน ส่วนมากจะใช้สายเคเบิ้ลในการติดต่อสื่อสารกัน
2. MAN (Metropolitan Area Network) เป็นการนำระบบ LAN หลายๆ LAN ที่มีพื้นที่อยู่ใกล้เคียงกันมาเชื่อมต่อกัน ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น เช่นเชื่อมต่อกันในเมือง หรือในจังหวัด เป็นต้น
3. WAN (Wide Area Network) เป็นกลุ่มของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันแบบกว้างขวาง อาจจะเป็นภายในประเทศ หรือระหว่างประเทศเป็นการใช้ หลายๆ LAN หรือหลายๆ MAN ซึ่งอยู่คนละพื้นที่ เชื่อมต่อเข้าหากัน เช่น สำนักงานที่ New York เชื่อมต่อกับที่ London การติดต่อสื่อสารกัน อาจจะใช้ตั้งแต่สายโทรศัพท์จนกระทั่งถึงดาวเทียม

- อาจจะมีอีกประเภทหนึ่ง คือ SAN (Small Area Network) เป็นกลุ่มของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันในพื้นที่ขนาดเล็กมาก อาจจะเป็นในบ้าน หรือสำนักงานขนาดเล็กที่มีจำนวนของคอมพิวเตอร์ไม่ควรจะเกิน 10 เครื่อง

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ( Computer Network ) หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิล หรือสื่ออื่นๆ ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถรับส่งข้อมูลแก่กันและกันได้ในกรณีที่เป็นการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เป็นศูนย์กลาง เราเรียกคอมพิวเตอร์ที่เป็นศูนย์กลางนี้ว่า โฮสต์ (Host) และเรียกคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่เข้ามาเชื่อมต่อว่า ไคลเอนต์ (Client)ระบบเครือข่าย (Network) จะเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเพื่อการติดต่อสื่อสาร เราสามารถส่งข้อมูลภายในอาคาร หรือข้ามระหว่างเมืองไปจนถึงอีกซีกหนึ่งของโลก ซึ่งข้อมูลต่างๆ อาจเป็นทั้งข้อความ รูปภาพ เสียง ก่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็วแก่ผู้ใช้ ซึ่งความสามารถเหล่านี้ทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีความสำคัญ และจำเป็นต่อการใช้งานในแวดวงต่างๆ
 แล้วทำไมเราถึงต้องใช้เครือข่าย หรือระบบคอมพิวเตอร์เครือข่าย การที่เรานำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อกัน เราจะสามารถใช้ประโยชน์จากระบบ หรือระบบสามารถทำอะไรได้บ้าง ทำให้ใช้ทรัพยากร ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ร่วมกันได้ (Resources Sharing) ซึ่งเป็นการช่วย ประหยัดค่าใช้จ่าย และเพิ่มความสะดวก ในการใช้งาน เช่น การใช้พื้นที่บนฮาร์ดดิสก์ และเครื่องพิมพ์ร่วมกันสามารถบริหารจัดการการทำงานของคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง ได้จากศูนย์กลาง (Centralized Management) เช่น สร้างเวิร์กกรุป กำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูล และสามารถทำการ สำรองข้อมูล ของแต่ละเครื่องได้ สามารถทำการสื่อสาร ภายในเครือข่าย (Communication) ได้หลายรูปแบบ เช่น อีเมล์, แชท (Chat), การประชุมทางไกล (Teleconference), และ การประชุมทางไกล แบบเห็นภาพ (Video Conference)มีระบบรักษาความปลอดภัย ของข้อมูล บนเครือข่าย (Network Security) เช่นสามารถ ระบุผู้ที่มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล ในระดับต่างๆ ป้องกันผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาติ เข้าถึงข้อมูล และให้การคุ้มครอง ข้อมูลที่สำคัญ ให้ความบันเทิงไม่รู้จบ (Entertainment) เช่น สามารถสนุกกับ การเล่นเกมส์ แบบผู้เล่นหลายคน หรือที่เรียกว่า มัลติ เพลเยอร์(Multi Player) ที่กำลัง เป็นที่นิยมกันอยู่ในเวลานี้ได้
ใช้งานอินเทอร์เน็ตร่วมกัน (Internet Sharing) เพียงต่อเข้าอินเทอร์เน็ต จากเครื่องหนึ่งในเครือข่าย โดยมีแอคเคาท์เพียงหนึ่งแอคเคาท์ ก็ทำให้ผู้ใช้อีกหลายคน ในเครือข่ายเดียวกัน สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ เสมือนกับมีหลายแอคเคาท์
ฯลฯ

ระบบเครือข่ายชนิดต่างๆ


ระบบเครือข่าย สามารถเรียกได้ หลายวิธี เช่นตามรูปแบบ การเชื่อมต่อ (Topology) เช่น แบบบัส (bus), แบบดาว (star), แบบวงแหวน (ring) หรือจะเรึยกตามขนาด หรือระยะทางของระบบก็ได้ เช่นแลน (LAN), แวน (WAN), แมน (MAN) นอกจากนี้ ระบบเครือข่าย ยังสามารถ เรียกได้ตาม เทคโนโลยีที่ไช้ ในการส่งผ่านข้อมูล เช่น เครือข่าย TCP/IP, เครือข่าย IPX, เครือข่าย SNA หรือเรียกตาม ชนิดของข้อมูล ที่มีการส่งผ่าน เช่นเครือข่าย เสียงและวิดีโอ
เรายังสามารถจำแนกเครือข่ายได้ ตามกลุ่มที่ใช้เครือข่าย เช่น อินเตอร์เน็ต (Internet), เอ็กซ์ตร้าเน็ต (Extranet), อินทราเน็ต (Intranet), เครือข่ายเสมือน (Virtual Private Network) หรือเรียก ตามวิธีการ เชื่อมต่อทางกายภาพ เช่นเครือข่าย เส้นใยนำแสง, เครือข่ายสายโทรศัพท์, เครือข่ายไร้สาย เป็นต้น จะเห็นได้ว่า เราสามารถจำแนก ระบบเครือข่าย ได้หลากหลายวิธี ตามแต่ว่า เราจะพูดถึง เครือข่ายนั้นในแง่มุมใด เราจำแนก ระบบเครือข่าย ตามวิธีที่นิยมกัน 3 วิธีคือ รูปแบบการเชื่อมต่อ (Topology), รูปแบบการสื่อสาร (Protocol), และ สถาปัตยกรรมเครือข่าย (Architecture)


  การจำแนกระบบเครือข่าย ตามรูปแบบการเชื่อมต่อ (Topology) จะบอกถึงรูปแบบ ที่ทำการ เชื่อมต่ออุปกรณ์ ในเครือข่ายเข้าด้วยกัน ซึ่งมีรูปแบบที่นิยมกัน 3 วิธีคือ


แบบบัส (BUS)


   ในระบบเครือข่าย โทโปโลยีแบบ BUS นับว่าเป็นแบบโทโปโลยีที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุดมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เหตุผลอย่างหนึ่งก็คือสามารถติดตั้งระบบ ดูแลรักษา และติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมได้ง่าย ไม่ต้องใช้เทคนิคที่ยุ่งยากซับซ้อน ลักษณะการทำงานของเครือข่ายโทโปโลยีแบบ BUS คืออุปกรณ์ทุกชิ้นหรือโหนดทุกโหนด ในเครือข่ายจะต้องเชื่อมโยงเข้ากับสายสื่อสารหลัก ที่เรียกว่า "บัส" (BUS) เมื่อโหนดหนึ่งต้องการจะส่งข้อมูลไปให้ยังอีกโหนด หนึ่งภายในเครือข่าย ข้อมูลจากโหนดผู้ส่ง จะถูกส่งเข้าสู่สายบัส ในรูปของแพ็กเกจ ซึ่งแต่ละแพ็กเกจจะประกอบด้วยตำแหน่งของ ผู้ส่งและผู้รับ และข้อมูล การสื่อสารภายในสายบัส จะเป็นแบบ 2 ทิศทางแยกไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของบัส โดยตรงปลายทั้ง 2 ด้านของบัสจะมีเทอร์มิเนเตอร์ (Terminator) ทำหน้าที่ดูดกลืนสัญญาณ เพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณข้อมูลนั้นสะท้อนกลับ เข้ามายังบัสอีก เป็นการป้องกันการชนกันของสัญญาณ ข้อมูลอื่น ๆ ที่เดินทางอยู่บนบัส สัญญาณข้อมูลจากโหนดผู้ส่ง เมื่อเข้าสู่บัสจะไหลผ่านไปยังปลายทั้ง 2 ข้างของบัส แต่ละโหนดที่เชื่อมต่อเข้ากับบัส จะคอยตรวจดูว่าตำแหน่งปลายทาง ที่มากับแพ็กเกจข้อมูลนั้น ตรงกับตำแหน่งของตนหรือไม่ ถ้าใช่ก็จะรับข้อมูลนั้นเข้ามาสู่โหนดตน แต่ถ้าไม่ใช่ ก็จะปล่อยให้สัญญาณข้อมูลนั้นผ่านไป จะเห็นว่าทุก ๆ โหนดภายในเครือข่ายแบบ BUS นั้นสามารถรับรู้สัญญาณข้อมูลได้ แต่จะมีเพียงโหนดปลายทางเพียงโหนดเดียวเท่านั้น ที่จะรับข้อมูลนั้นไปได้

    การควบคุมการสื่อสารภายในเครือข่ายแบบ BUS มี 2 แบบคือ แบบควบคุมด้วยศูนย์กลาง (Centralized) ซึ่งจะมีโหนดหนึ่ง ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางควบคุมการสื่อสารภายในเครือข่าย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นไฟล์เซิร์ฟเวอร์ การควบคุมแบบกระจาย (Distributed) ทุก ๆ โหนดภายในเครือข่าย จะมีสิทธิในการควบคุมการสื่อสาร แทนที่จะ เป็นศูนย์กลางควบคุมเพียงโหนดเดียว ซึ่งโดยทั่วไปคู่โหนดที่กำลังทำการส่ง-รับ ข้อมูลกันอย ู่จะเป็นผู้ควบคุมการสื่อสารในเวลานั้นข้อดีข้อเสียของโทโปโลยีแบบบัส

แบบดาว (STAR)


เป็นหลักการส่งและรับข้อมูล เหมือนกับระบบโทรศัพท์ การควบคุมจะทำโดยสถานีศูนย์กลาง ทำหน้าที่เป็นตัวสวิตชิ่ง ข้อมูลทั้งหมดในระบบเครือข่าย จะต้องผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง (Center Comtuper) เป็นการเชื่อมโยงการติดต่อสื่อสาร ที่มีลักษณะคล้ายกับรูปดาว (STAR) หลายแฉก โดยมีศูนย์กลางของดาว หรือฮับ เป็นจุดผ่านการติดต่อกันระหว่างทุกโหนดในเครือข่าย ศูนย์กลาง จึงมีหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมเส้นทางการสื่อสารทั้งหมด นอกจากนี้ศูนย์กลางยังทำหน้าที่ เป็นศูนย์กลางข้อมูลอีกด้วย
 การสื่อสารภายในเครือข่ายแบบ STAR จะเป็นแบบ 2 ทิศทาง โดยจะอนุญาตให้มีเพียงโหนดเดียวเท่านั้น ที่สามารถส่งข้อมูลเข้าสู่เครือข่ายได้ จึงไม่มีโอกาสที่หลายๆ โหนดจะส่งข้อมูลเข้าสู่เครือข่ายในเวลาเดียวกัน เพื่อป้องกันการชนกันของสัญญาณข้อมูล เครือข่ายแบบ STAR เป็นโทโปโลยี อีกแบบหนึ่ง ที่เป็นที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน ข้อดีของเครือข่ายแบบ STAR คือการติดตั้งเครือข่ายและการดูแลรักษาทำได้ง่าย หากมีโหนดใดเกิดความเสียหาย ก็สามารถตรวจสอบได้ง่าย และศูนย์กลางสามารถตัดโหนดนั้นออกจากการสื่อสาร ในเครือข่ายได้
แบบวงแหวน (RING)

    เครือข่ายแบบ RING เป็นการส่งข่าวสารที่ส่งผ่านไปในเครือข่าย ข้อมูลข่าวสารจะไหลวนอยู่ในเครือข่าย ไปในทิศทางเดียว เหมือนวงแหวน หรือ RING นั่นเอง โดยไม่มีจุดปลาย หรือเทอร์มิเนเตอร์ เช่นเดียวกับเครือข่ายแบบ BUS ในแต่ละโหนดหรือสเตชั่น จะมีรีพีตเตอร์ประจำโหนด 1 เครื่อง ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข่าวสารที่จำเป็นต่อการสื่อสาร ในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล สำหรับการส่งข้อมูลออกจากโหนด และมีหน้าที่รับแพ็กเกจข้อมูล ที่ไหลผ่านมาจากสายสื่อสาร เพื่อตรวจสอบว่าเป็นข้อมูล ที่ส่งมาให้โหนดตนหรือไม่ ถ้าใช่ก็จะคัดลอกข้อมูลทั้งหมดนั้น ส่งต่อไปให้กับโหนดของตน แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยังรีพีตเตอร์ของโหนดถัดไป

โทโปโลยีแบบผสม (HYBRIDGE TOPOLOGY)

  เป็นเครือข่ายการสื่อสารข้อมูลแบบผสมระหว่างเครือข่ายแบบใดแบบหนึ่งหรือมากกว่า เพื่อความถูกต้องแน่นอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการและภาพรวมขององค์กร
แบบฝึกหัดเรื่องComputer Network  คลิกที่นี้

อ้างอิง http://comnetwork2013.blogspot.com/

การใช้งานคอมพิวเตอร์ (เนื้อหา)

การใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
          1.  การเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์
               1.  เสียบปลั๊กไฟทุกเส้นที่ต่อจากเครื่องคอมพิวเตอร์
               2.  กดปุ่ม  Power  เพื่อเปิดเครื่อง  จะมีไฟติดที่เครื่องและแป้นพิมพ์
               3.  เปิดสวิตช์จอภาพ  จะมีตัวอักษรขึ้นบนจอภาพ  และเริ่มเข้าสู่โปรแกรม
               4.  ใช้เมาส์คลิกที่ปุ่ม Start  จะปรากฏกลุ่มงานให้เลือกใช้
               5.  ใช้เมาส์คลิกที่โปรแกรม (Programs)  จะปรากฏแถบรายชื่อโปรแกรมต่าง ๆ ให้เลือก
               6.  คลิกชื่อโปรแกรมที่ต้องการใช้งาน  โปรแกรมงานก็จะถูกเปิดขึ้นทันที
          2.  การปิดเครื่องคอมพิวเตอร์
               1.  คลิกที่ปุ่มปิดโปรแกรม (Close) X
               2.  คลิกที่ปุ่ม Start
               3.  เลือก Shut down
               4.  เลือกตัวเลือกที่ต้องการ
               5.  เลือกปุ่ม OK  แล้วเครื่องจะถูกปิดลง
          3.  การใช้งานโปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด (Microsoft Word)
               โปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด (Microsoft Word)  เป็นโปรแกรมที่นิยมใช้ในการพิมพ์เอกสารต่าง ๆ เช่น  จดหมาย  รายงาน  ซึ่งมีคุณสมบัติในการสร้าง  ตกแต่งสีและจัดรูปแบบเอกสารให้สวยงาม  และสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว
               การเรียกใช้งานโปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด  มีขั้นตอนปฏิบัติดังนี้
               1.  คลิกปุ่ม Start  ไปที่ Programs
               2.  คลิกเมาส์เพื่อเลือก Microsoft Word  จะปรากฏหน้าต่างของ Microsoft Word
               การใช้งานโปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด  เพื่อพิมพ์เอกสาร  สามารถปฏิบัติดังนี้
               1.  เลือกแบบตัวอักษร  และขนาดตัวอักษรที่ต้องการ
               2.  พิมพ์ข้อความตามต้องการ
               3.  การแก้ไขข้อความ
                    ถ้าต้องการแก้ไขข้อความก็สามารถทำได้  ดังนี้
                    -  เลื่อนเมาส์มาในหน้าเอกสาร  เคอร์เซอร์ (Cursor)  จะเปลี่ยนเป็น I  (I-beam)
                    -  นำเคอร์เซอร์ไปคลิกตรงข้อความที่ต้องการแก้ไข  และทำการแก้ไข  ดังนี้
                    การแทรกข้อความ  มีขั้นตอนดังนี้
                    1)  ใช้เมาส์คลิกตำแหน่งที่ต้องการแทรก
                    2)  พิมพ์ข้อความที่ต้องการแทรกลงไป
                    การลบตัวอักษรและข้อความ  มีขั้นตอนดังนี้
                    1)  ลบตัวอักษรทีละตัว  ทำได้โดยคลิกให้เครื่องหมายเคอร์เซอร์อยู่หลังอักษร  แล้วกดปุ่ม Backspace
                    2)  ลบข้อความยาว ๆ ให้คลิกเมาส์ด้านซ้ายค้างไว้  แล้วลากไปที่ข้อความที่ต้องการลบให้เป็นแถบสีดำ  แล้วกดปุ่ม Enter หรือ Delete
          4.  การพิมพ์เอกสารในกระดาษ  มีขั้นตอนการปฏิบัติดังนี้
                    1)  คลิกที่เมนู File  เลือกคำสั่งพิมพ์  จะปรากฏหน้าต่างการพิมพ์ขึ้น
                    2)  กำหนดเครื่องพิมพ์ที่ใช้
                    3)  เลือกส่วนของระยะหน้า  เช่น
                         -  พิมพ์ทั้งหมด  เครื่องจะพิมพ์ทุกหน้าที่อยู่ในแฟ้ม
                         -  หน้าปัจจุบัน  เครื่องจะพิมพ์หน้าที่มีเครื่องหมายเคอร์เซอร์อยู่
                         -  หน้า  ให้ระบุหน้าที่จะพิมพ์  เช่น  1-5, 8-10
                    4)  เลือกจำนวนชุด  ตอบเป็นชุด  แล้วคลิกปุ่มตกลง
          5.  การจัดเก็บเอกสาร  มีขั้นตอนดังนี้
                    1)  เลือกเมนู File  แล้วคลิกที่ Save หรือ Save As  จะปรากฏหน้าต่าง Save As  ขึ้น
                    2)  เลือกที่สำหรับจัดเก็บ
                    3)  ตั้งชื่อไฟล์
                    4)  คลิก Save
          6.  การปิดเอกสารและออกจากโปรแกรม
                    1)  ถ้าปิดเอกสาร  ถ้าต้องการปิดเอกสารให้กดปุ่ม X ที่อยู่มุมขวาของเอกสารนั้น
                         ถ้าเอกสารนั้นยังไม่ได้ Save จะมีหน้าต่างขึ้นมาถามว่าต้องการ Save หรือไม่  ถ้าต้องการให้คลิกที่ใช่ (Yes)  ถ้าไม่ต้องการให้คลิกที่ไม่ใช้ (No)  แต่ถ้าต้องการยกเลิกการปิดเอกสารให้คลิกที่ยกเลิก (Cancel)
                    2)  การออกจากโปรแกรม  มีขั้นตอนดังนี้
                         (1)  คลิกที่เมนู File
                         (2)  เลือกที่ Exit  หรือคลิกที่ปุ่ม X ที่มุมขวาของโปรแกรม

แบบฝึกหัดเรื่องการใช้งานคอมพิวเตอร์ คลิกที่นี้
อ้างอิง http://www.trueplookpanya.com/knowledge/detail/1311

วันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

แบบทดสอบประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์

แบบข้อสอบทดสอบ ระบบคอมพิวเตอร์

ข้อสอบการพัฒนาโปรแกรม

แบบทดสอบ Software

แบบทดสอบNetwork Computer1

ข้อสอบการใช้งานคอมพิวเตอร์2

แบบทดสอบ การใช้งานคอมพิวเตอร์1

แบบทดสอบ Webpage Development

ข้อสอบIT2

ข้อสอบIT1